Blog

จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก Shear connection และ Moment connection

การออกแบบ จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก รับแรงเฉือน หรือ shear connection และ จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก รับโมเมนต์ หรือ moment connection นั้น เป็นพื้นฐานสำคัญในการออกแบบระบบโครงสร้างเหล็กให้สมบูรณ์ หลักในการออกแบบนั้นไม่ยากครับ แต่ท่านต้องเข้าใจหลักใหญ่ใจความที่สำคัญคือ เส้นทางการไหลของแรง หรือ load path…

ประโยชน์ของสะพานโครงสร้างเหล็ก

ก่อนที่จะพูดเรื่อง ประโยชน์ของสะพานโครงสร้างเหล็ก เรามาลองดูตัวเลขที่น่าสนใจกันก่อนนะครับ เกี่ยวกับงานก่อสร้างสะพานในประเทศไทย งานก่อสร้างสะพานทางหลวงในประเทศไทย สำหรับงานก่อสร้างและบำรุงรักษาสะพาน ตามแนวเส้นทางหลวงในประเทศไทย ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบทนั้น ปัจจุบันกรมทางหลวง มีสะพานจำนวนทั้งสิ้นกว่า 15,000 แห่ง โดยสัดส่วนปริมาณของสะพานช่วงสั้น (สะพานที่มีช่วงความยาวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 เมตร) ต่อสะพานทั้งหมดมีอยู่ราว 94% และสะพานเหล่านี้ระบบเป็นโครงสร้างคอนกรีตแทบทั้งสิ้น…

การเปรียบเทียบต้นทุน ราคาก่อสร้างสะพาน ในประเทศญี่ปุ่น

ในทางปฏิบัติปกติทั่วไป การตัดสินใจว่าจะเลือกใช้สะพานโครงสร้างประเภทใดย่อมตัดสินด้วยมูลค่าที่เจ้าของโครงสร้างจะต้องจ่ายออกไป ( ราคาก่อสร้างสะพาน ระบบนั้นๆ ) มูลค่าที่กล่าวถึงอาจพิจารณาได้จากทั้ง (1) มูลค่างานก่อสร้างเมื่อเริ่มต้น (2) มูลค่างานก่อสร้างเมื่อเริ่มต้น รวมกับมูลค่าการบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน หรือ (3) มูลค่างานก่อสร้างเมื่อเริ่มต้น รวมกับมูลค่าการบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งาน ลบด้วยมูลค่าซากเมื่อสิ้นอายุการใช้งาน สำหรับตัวอย่างที่ได้รับจากหน่วยงานสะพานในประเทศญี่ปุ่น แม้ว่าหากเปรียบเทียบระหว่างสะพานโครงสร้างเหล็ก กับสะพานโครงสร้างคอนกรีต…

ตัวอย่างการคำนวณแรงลม และถ่ายแรงสำหรับอาคารเตี้ย อย่างละเอียด

สำหรับเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นการนำ ตัวอย่างการคำนวณแรงลม พร้อมการถ่ายแรงเข้าโครงสร้าง สำหรับอาคารเตี้ย หรือ low-rise buildings ให้ได้ลองดูกันนะครับ ก่อนอื่นเลย คงต้องพูดถึงว่าทำไมวิศวกรผู้ออกแบบอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าถึงต้องเข้าใจแรงลมที่กระทำกับอาคารประเภทนี้ (อาคารเตี้ย) ซึ่งคำตอบก็น่าจะเป็นเรื่องของการ optimization ให้โครงสร้างเกิดความประหยัดมากที่สุดนั่นเอง เนื่องจากงานอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าเหล่านี้ เป็นตลาดที่มีกำไรค่อนข้างต่ำ และแข่งขันกันด้วยเรื่องของราคาเป็นหลัก ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ก็เป็นเหตุทำให้การออกแบบต้องทำออกมาได้อย่างประหยัดที่สุด อาคารมีน้ำหนักเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากน้ำหนักของอาคารส่งผลต่อราคาเหล็กที่จะต้องสั่งซื้อมาก่อสร้าง…

วิธีออกแบบโครงสร้างเหล็ก ASD หรือ LRFD แบบไหนประหยัดกว่ากัน?

ปรัชญาในการออกแบบ ด้วยวิธี Allowable Stress Design หรือ ASD และ Load and Resistance Factored Design หรือ LRFD มักจะมีคน ชอบตั้งคำถาม (เกี่ยวกับ วิธีออกแบบโครงสร้างเหล็ก) ทีทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้พอสมควร…

ขั้นตอน การออกแบบ Column Base Plate ที่รับเฉพาะแรงอัด (Base Plate with Concentric Axial Loads)

โดยปกติแล้วเวลาที่เราออกแบบโครงสร้างอาคาร เราอาจจะละเลยการออกแบบ Column Base Plate เนื่องจาก ในหลายๆครั้งเราก็จะมีความหนาของตัว base plate ในใจแบบยืนพื้นอยู่แล้ว ว่าจะใช้ความหนาประมาณ 1 นิ้ว หรือ 20 มม. โดยที่จะไม่ได้ให้ความสำคัญในการคำนวณสักท่าไหร่ วันนี้เลยอยากเอาเนื้อหาเกี่ยวกับ concept ของการออกแบบ…

การวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธี Portal Method

Portal Method คืออะไร ?  หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อหาแรงภายในด้วยวิธีนี้ (Portal Method) กันบ้างแล้วนะครับ บางท่านก็อาจจะยังไม่คุ้นเคย ซึ่งวันนี้เราก็จะมาคุยเรื่องนี้กันพร้อมตัวอย่างครับ หากพูดถึง Portal method ก็ต้องบอกว่า วิธีนี้เป็นวิธีวิเคราะห์แรงภายในคร่าวๆ (ไม่ละเอียดแม่นยำเท่ากับวิธี compatibility อื่นๆ) ที่เกิดกับโครงสร้างประเภท moment…

หลักใน การวิเคราะห์โครงสร้าง และการนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบโครงสร้างเหล็ก (ตอนที่ 1)

เรื่องของ การวิเคราะห์โครงสร้าง นี้ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญมากกก สำหรับวิศวกรโครงสร้างทุกคนนะครับ ที่จะทำให้เข้าใจพฤติกรรมของโครงสร้างแต่ละชนิด การทำข้อต่อ รวมไปถึงการทำ optimization ด้วย ซึ่งการจะทำทั้งหมดนี้ได้ ก็ต้องมีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานที่แม่นยำเสียก่อน ยิ่งหากเป็นอาคารที่มีขนาดใหญ่ หรืออาคารที่มีความสูงมากๆ แล้วด้วย ยิ่งต้องทำความเข้าใจกับเรื่องเหล่านี้ให้กระจ่างก่อนที่จะไปทำการออกแบบโครงสร้างนะครับ Bending Moment VS Arch System การวิเคราะห์โครงสร้าง…

โครงสร้างสะพานเหล็ก ในประเทศญี่ปุ่น

สำหรับเนื้อหาในวันนี้ก็จะเป็นเนื้อหาที่พูดถึง โครงสร้างสะพานเหล็ก ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีความเชี่ยวชาญด้านสะพานโครงสร้างเหล็กเป็นอย่างมากครับ โดยเนื้อหานี้ก็จะต่อเนื่องจากโพสต์ก่อน ในหัวข้อ “สะพานโครงสร้างเหล็ก (steel bridges) เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ซึ่งหากท่านใดต้องการอ่านบทความนี้ ก็สามารถ คลิกที่นี่ ได้เลย รูปแบบสะพานโครงสร้างเหล็กในประเทศญี่ปุ่น รูปแบบของ โครงสร้างสะพานเหล็ก ในประเทศญี่ปุ่น มีอยู่มากมายหลายประเภท ขึ้นกับลักษณะการใช้งาน…

Truss model โครงถักกับโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

ได้มีโอกาสนำเสนอเรื่องราวของ “โครงข้อหมุน” หรือ “โครงถัก” หรือ truss ไปบ้างพอสมควร ซึ่งดูเหมือนว่าหลายๆ ท่านได้ให้ความสนใจ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งน่าจะเป็นเพราะการออกแบบและการใช้งาน truss ที่ทำจากโครงสร้างเหล็กนั้น เป็นที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในบ้านเรา บทความนี้อาจจะแตกต่างออกไปจากบทความก่อนๆ นิด แต่ท่านทราบไหมครับว่า หลักในการวางเหล็กเสริมนั้น อาจจะพิจารณาโดยใช้ truss model…