AISC Design Guide Series
Castellated และ Cellular Beam

Castellated และ Cellular Beam

Castellated และ Cellular Beam

#แบ่งปันเอกสาร Design Guide 31 Castellated and Cellular Beam Design

โพสต์ก่อน ๆ เกี่ยวกับ Castellated and Cellular Beam ของทางเพจ

https://www.facebook.com/weloveste…/posts/1602609710125251

https://www.facebook.com/weloveste…/posts/1349671332085758

Castellated และ Cellular Beam คืออะไร

Castellated Beam คือ คานเหล็ก H Beam (wide flange) นำมาแปรรูปขยายความลึกหน้าตัดด้วยการตัด web ตามแนวของคานเดิม (Root beam) เป็นรูป zigzag และนำส่วนที่ตัดมาตั้งต่อกันด้วยการเชื่อม ให้มีความสูงเพิ่มขึ้นโดยจะมีช่องเปิดเป็นรูป 6 เหลี่ยม ในต่างประเทศจะเรียกรูปแบบนี้ว่า Hexagonal castellated beam

Cellular Beam เป็น Castellated beam ประเภทหนึ่ง โดยเรียกกันในต่างประเทศว่า Circular castellated beam หรือ Cellular beam คือ เป็น version ถัดมาของ Hexagonal castellated beam ต่างกันตรงที่ช่องเปิดเป็นรูปวงกลม ดังนั้น ความแตกต่างของคานทั้ง 2 นี้ คือ ลักษณะ pattern ของช่องเปิดโดยอันนึงเป็นรูป 6 เหลี่ยม อีกอันเป็นวงกลม และมีกระบวนการผลิตที่แตกต่างกันเล็กน้อย

กระบวนการผลิต

Castellated beam จะตัดคาน wide flange เดิมเป็นรูป zigzag pattern แล้วนำส่วนที่ตัดมาตั้งต่อกันด้วยการเชื่อมโดยจะมี loss of materials เกิดขึ้นเล็กน้อยตรงส่วนปลาย ดังรูปที่ 1.1 ส่วน Cellular beam จะมีกระบวนการตัดสองรอบเพื่อให้ได้ช่องเปิดเป็นรูปวงกลมตามที่ต้องการ ลักษณะตามรูปที่ 1.3 ดังนั้น สรุปได้ว่า Cellular beam จะใช้เวลาในการผลิตนานกว่าและจะมีการสูญเสียของเนื้อวัสดุของคานเดิมมากกว่า แต่จะมีส่วนต่อของ web ที่ไม่เป็นเหลี่ยมคม ทำให้เกิด stress concentration น้อย ลดปัญหาการวิบัติจากการฉีกขาดได้ดีกว่า

การนำไปใช้งาน

เหมาะสำหรับใช้เป็นคานมีระยะห่างระหว่างเสาค่อนข้างยาว span > 9 m โดยมีการวิจัยว่าถ้า span มากกว่า 12 m จะมีค่าก่อสร้างโดยรวมประหยัดกว่าการใช้คานเหล็กระบบปกติ (solid steel beam) โดยสามารถใช้เป็นโครงหลังคาเหล็กหรือโครงสร้างคานรองรับระบบพื้นก็ได้ ตัวอย่างการใช้งานบางส่วนเช่น อาคารโรงจอดรถ ชั้น mezzanine ของอาคารโรงงาน ดังแสดงในรูป 2.2-2.3 เป็นต้น

ข้อดี

– มี stiffness สูงกว่าคานเหล็กปกติเทียบกับน้ำหนักที่เท่ากัน

– ใช้ร่วมกับงานระบบ งานท่อ ได้เป็นอย่างดี

– ลดจำนวนเสาและฐานราก

– ต้านทานการสั่นทะเทือนได้ดีกว่าคานเหล็กปกติที่ไม่ผ่านการแปรรูป ด้วยน้ำหนักที่เท่ากัน เพราะมีความลึกคานมากขึ้นประมาณ 1.5 เท่าจากคานเดิม (root beam) ทำให้มีความต้านทานการสั่นสะเทือนที่ดีกว่า

– สามารถประยุกต์ใช้เป็นคาน Asymmetry section (หน้าตัดส่วนบน-ล่าง มีขนาดไม่เท่ากัน) เพื่อรองรับการใช้งานตามลักษณะการรับแรงที่ต้องการได้

– มีความสวยงาม สามารถดัดโค้งได้ ตามแสดงในรูป 2.7-2.8

โดยทั้งหมดนี้คือข้อดีบางส่วนที่นำมาจาก design guide 31 เล่มนี้

ซึ่งวันนี้เราจะมาแชร์เอกสารตัวนี้ให้กับ fan page ทุกท่านที่ต้องการ โดยมีกติกาเดียวเท่านั้นคือ ให้ท่านช่วยแชร์โพสนี้ ไม่ว่าจะแชร์ไปที่ใดก็ได้โดยส่งหลักฐานการแชร์โพสต์ (แคปรูป) และส่งข้อความ inbox ไปที่ Line OA ของเพจ (เพิ่มเพื่อนได้จาก QR Code หรือ Line ID ที่อยู่ตามในรูปด้านล่าง)

ปล1. ทางเพจมีการแชร์เอกสาร ข่าวประชาสัมพันธ์การอบรมสัมมนา และข้อมูลอื่น ๆ ทางช่อง Line OA เป็นประจำ ฝากเพื่อนๆ add friend กันไว้ด้วยนะครับ

ปล.2 ส่วนท่านที่พลาดงานสัมมนา SSI Steel Construction Forum 2022 ตอนนี้ทีมงานได้เริ่มทยอยลงคลิปทุก ๆ วันพุธนะครับ ลงสัปดาห์ละ 1 คลิป และจะมีการแชร์เอกสารประกอบการสัมมนาไว้ที่ทาง Line OA ครับ

#WeLoveSteelConstruction

01
02
03
04
05
06

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel และ Line Officail Account ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love

Leave a Reply