การออกแบบเบื้องต้นเพื่อกำหนดราคางานโครงสร้าง (Guideline of Preliminary Design for Structural Work Budgeting.)

บทนำ การคำนวณราคาการก่อสร้างเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ผู้ว่าจ้างมักถามบ่อย เช่น “หากต้องการสร้างบ้าน 3 ชั้น จะมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่?” หรือ “ช่วยคำนวณราคาโครงสร้างสำหรับโกดังให้ที เพราะต้องรีบยื่นซองประมูลภายในวันศุกร์นี้” เหล่านี้คือคำถามที่วิศวกรหลายท่านอาจเคยเผชิญ เนื่องจากราคาถือเป็นปัจจัยแรกที่มีอิทธิพลต่อการได้รับงานนั้นๆ การทำความเข้าใจกลยุทธ์การตลาดและจิตวิทยาเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกลยุทธ์ที่เรียกว่า “Foot in the Door” ซึ่งเป็นเทคนิคในการชักจูงที่เน้นการเริ่มต้นด้วยข้อเสนอขนาดเล็กก่อน แล้วค่อยขยายข้อเสนอให้ใหญ่ขึ้นหรือซับซ้อนขึ้นในภายหลัง…

Technology for steel construction suitable for parking Building. (เทคโนโลยีงานก่อสร้างด้วยเหล็กที่เหมาะสมกับอาคารที่จอดรถ)

บทนำตลาดที่จอดรถ ก่อนที่เราจะเริ่มพูดถึงเทคโนโลยีงานก่อสร้างด้วยเหล็กที่เหมาะสมกับอาคารที่จอดรถ เราอาจจำเป็นต้องทราบข้อมูลของตลาดธุรกิจที่จอดรถในประเทศไทยเสียก่อนว่ามีความน่าสนใจอย่างไร แล้วเป็นโอกาสสำหรับพวกเราชาววิศวกรโครงสร้างกันอย่างไรบ้าง อย่างที่เราทราบกันเมื่อไม่นานมานี้ว่าตลาดหุ้น SET ของไทยเพิ่งจะมีธุรกิจน้องใหม่ที่ทำธุรกิจที่จอดรถให้เช่า โดยใช้ชื่อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ MAI ว่า JPARK ซึ่งเป็นหุ้นของ บริษัท เจนก้องไกล จำกัด (มหาชน) โดยลักษณะของธุรกิจที่ บมจ. เจนก้องไกลดำเนินการคือ การให้บริการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพื้นที่จอดรถ…

เหล็กไทย ทำไมแข่ง (ราคา) สู้จีนสู้เวียดนามไม่ได้

อยากให้ลองดู clip นี้ดูครับ link: https://www.youtube.com/watch?v=wsTR89lkLi8 เป็นบทสนทนาระหว่าง ท่านผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย นายวิโรจน์ โรจน์วัฒนาชัย และ รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ประกอบไปด้วยครับ อันดับแรก: หลัก demand – supply ประเด็นนี้ตรงไปตรงมา…

พื้นฐานในการวิเคราะห์โครงสร้าง (Structural analysis fundamental)

หนึ่งในวิชาที่วิศวกรมักประสบปัญหามากที่สุดในสมัยเรียน ณ มหาวิทยาลัย คือวิชา การวิเคราะห์โครงสร้าง Structural analysis ที่เรียนเฉพาะ determinate structure และ Advanced structural analysis ที่เพิ่มเติมการวิเคราะห์โครงสร้างแบบ indeterminate structure ที่สมกาสมดุลแรงและโมเมนต์ ไม่พอกับจำนวนตัวแปร ซึ่งต้องหากสมการมาเพิ่มเติม…

การซ่อมแซมและเสริมกำลังให้กับโครงสร้างเหล็ก Repair and Strengthening of Steel Structures

มนุษย์ กับ โครงสร้าง ล้วนตกอยู่ภายใต้หลักธรรมชาติที่ว่าสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีการเสื่อมไปเป็นธรรมดา การเสื่อมของโครงสร้างตามกาลเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงสร้างเหล็กนั้น มีปัจจัยสำคัญคือ ความชื้นและแรงภายนอกที่กระทำ อันส่งผลต่อการกัดกร่อน (corrosion) ซึ่งปรากฏผลให้เห็นในรูปของสนิม และความล้า (fatigue) ซึ่งส่งผลให้เห็นเป็นการแตกร้าว ทั้งนี้รูปแบบความเสียหายทั้ง corrosion และ fatigue นั้น มักจะไม่เกิดกับอาคารโครงสร้างเหล็ก…

การเสริมกำลังให้โครงสร้างเหล็ก ( Strengthening of Structural Steel )

กิจกรรมซ่อมแซมเสริมกำลังนี้ เป็นบทพิสูจน์ความรู้ความเข้าใจในเชิงพฤติกรรมของโครงสร้างเหล็กกับวิศวกรผู้ออกแบบ คือหากเปรียบเทียบกับลักษณะทางร่างกายของมนุษย์ การจะให้ยากรักษาโรค หรือวิธีการบำบัดที่เหมาะเฉพาะบุคคลได้ คุณหมอจะต้องเข้าใจลักษณะเชิงพฤติกรรมของโรค หรือความเจ็บป่วยของคนไข้ โดยอาศัยข้อมูลจาก การตรวจด้วยสายตาและการสัมผัส (visual inspection) การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง (dimension measuring) การวัดความดัน ฟังเสียงหัวใจเต้น (soundness testing) การตรวจเลือด…