Truss Structures (โครงข้อหมุน / โครงถัก)
ตัวอย่างการคำนวณโครงสร้าง Truss อย่างละเอียด

ตัวอย่างการคำนวณโครงสร้าง Truss อย่างละเอียด

สำหรับโพสต์นี้จะเป็นตัวอย่างการคำนวณ Truss (หรือที่เราเรียกกันว่าโครงข้อหมุน / โครงถัก) ด้วยมือ และการเลือก section ที่เหมาะสมนะครับ เนื่องจากเมื่อ 2 วันก่อน มีน้องนักศึกษาคนหนึ่งทักเข้ามาใน inbox ว่าอยากได้ตัวอย่างการคำนวณไปใช้เป็นตัวอย่างในการทำปริญญานิพนธ์ ทางทีมงานก็ไม่รอช้า จัดทำออกมาให้เป็นตัวอย่าง เพื่อให้น้องๆ ได้ concept ในการออกแบบ เพื่อนำไปต่อยอดครับ

Concept ในการออกแบบ

สำหรับการออกแบบโครง Truss ก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนมากมายนะครับ ซึ่งแน่นอนว่า อย่างแรกเลยก็ต้องเริ่มด้วย การวิเคราะห์โครงสร้าง และค่อยออกแบบหน้าตัดเหล็กนั่นเอง โดยขั้นตอนสำหรับการออกแบบก็จะมีประมาณนี้นะครับ คือ

1. ตรวจสอบ determinacy ว่าโครงสร้างเป็นแบบ determinate หรือ indeterminate สำหรับโครงสร้างที่เป็น truss เราสามารถพิจารณาได้โดย : m = 2j -3

  • เมื่อ m คือ จำนวน member
  • j คือ จำนวน joint
    หากเลขทั้ง 2 ฝั่งมีค่าเท่ากัน ก็จะเป็น determinate structure ซึ่งสามารถคำนวณแรงภายในได้
โครงข้อหมุนตัวอย่าง
การตรวจสอบพฤติกรรมของโครงสร้าง

2. คำนวณ reaction ที่ support
โดยปกติแล้วโครงสร้าง truss ก็จะใช้ simple support เป็นปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด moment ที่ member เพราะต้องการให้ member มีพฤติกรรมที่รับเฉพาะแรงในแนวแกนเท่านั้น
3. คำนวณแรงภายในที่เกิดขึ้น ว่าเป็นแรงอัดหรือแรงดึง ซึ่งการคำนวณแรงก็จะพิจารณาจากสมการสมดุลแรงในแนวแกน x และแกน y ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือ sigmaFy และ sigmaFx โดยกำหนดทิศทางของแรงที่เป็นบวกและลบ

เช่น ทิศทางขึ้นเป็นบวก ทิศทางไปทางขวดเป็นบวก เพื่อที่สุดแล้วเมื่อคำนวณออกมา ค่าที่เป็นลบ ก็คือ แรงอัด และค่าที่เป็นบวก ก็คือ แรงดึง จากนั้นก็พิจารณาทีละ joint เพื่อหาแรงภายในให้ครบทุก member เพื่อหาว่า member ไหน เกิดแรงภายในมากที่สุด แล้วจึงนำไปใช้ออกแบบ

การคำนวณหาแรงภายใน 1
การคำนวณหาแรงภายใน 2
สรุปแรงภายในที่เกิดขึ้นสูงสุด

4. ออกแบบหน้าตัดที่เหมาะสม โดยพิจารณา member ที่รับแรงอัดเป็นเสา และ member ที่รับแรงดึงก็พิจารณาแบบทั่วไปคือ 0.9FyAg

  • สำหรับ member ที่รับแรงอัด ก็ให้พิจารณา member นั้นๆ เป็นเสาต้นหนึ่ง โดยจะต้องพิจารณาค่าอัตราส่วนความชะลูด (slenderness ratio) เพื่อพิจารณาว่าเป็นเสายาวปานกลาง (intermediate column) หรือเสายาว (long column) จากนั้นจึงคำนวณค่ากำลังรับน้ำหนักสูงสุดของ member นั้น

    แล้วจึงนำไปเปรียบเทียบกับแรงที่เกิดขึ้น แต่หากต้องพิจารณา member ที่รับแรงดึง ก็ยิ่งง่ายขึ้นไปอีก เพราะว่าสามารถคำนวณแบบตรงไปตรงมาได้เลย ก็คือ ค่า yield ของเหล็ก x หน้าตัดของเหล็ก แล้วคูณด้วยค่า phi = 0.9 เข้าไป ก็จะได้กำลังรับแรงดึงของ member นั้นๆ ออกมาแล้วครับ

โดย concept แล้วก็จะเป็นประมาณนี้นะครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกท่านนะครับ

สำหรับท่านที่สนใจ เครื่องมือช่วยออกแบบโครงสร้างเหล็ก  (mobile application: SSI Steel Design) สามารถดาวน์โหลดได้ทาง

(iOS)
https://apps.apple.com/th/app/ssi-steel-design/id1474838160

Android
https://bit.ly/2Ft4zhm

ตรวจสอบความชะลูดของหน้าตัดเหล็กที่เลือกใช้
การคำนวณกำลังรับแรงอัดของหน้าตัดเหล็กที่เลือกใช้
การคำนวณกำลังรับแรงดึงของหน้าตัดเหล็กที่เลือกใช้
การออกแบบ vertical member
กำลังรับแรงอัดของ vertical member
กำลังรับแรงดึงของ diagonal member
สรุปผลการขนาดหน้าตัดเหล็กที่เลือกใช้




Spread the love