Blog

การ ป้องกันสนิม ด้วยวิธีการทาสี VS ชุบกัลวาไนซ์ อะไรดีกว่ากัน ?

ถ้าท่านทำงานโครงสร้างเหล็กท่านคงจะเจอคำถามนี้บ่อยพอสมควร เป็นคำถามที่ตอบได้ยากเหมือนกันนะครับเพราะทั้ง 2 วิธีนี้ ล้วนแต่เป็นวิธีที่สามารถ ป้องกันสนิม ได้ทั้งคู่ แต่ทั้ง 2 วิธีกลับมีวิธีในการป้องกันสนิมที่แตกต่างกัน และต้นทุนในการทำก็แตกต่างกัน ซึ่งก็ต้องชั่งน้ำหนักกันระหว่างประโยชน์ที่ได้รับกับราคาที่ต้องจ่ายไป ที่เรียกว่า benefit/cost ratio เหตุผลพื้นฐานในการเกิดสนิม ธรรมชาติของเหล็กนั้นจะไม่ค่อยเสถียรในแง่ไฟฟ้าเคมี เหล็กที่เราเห็นอยู่นี้จะเสถียรมากๆ ในรูปฟอร์มของสินแร่ที่เรียกว่าเหล็กออกไซด์ สีแดงๆ…

ตัวอย่างการออกแบบ anchorage รับแรงถอน

อย่างที่หลายๆ ท่านพอจะทราบกันดีว่าในการออกแบบส่วนเชื่อมต่อระหว่างส่วนโคนของเสาโครงสร้างและตอม่อสำหรับอาคารโรงงานหรือโกดังเก็บสินค้า นอกจากการที่เราจะต้องออกแบบ base plate เพื่อรับแรงกดและโมเมนต์แล้ว ในบางกรณีเราจำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงแรงถอน ที่กระทำกับ anchorage อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายๆอย่าง อาทิเช่น แรงลม ที่อาจก่อให้เกิดแรงดูดที่หลังคาของอาคาร หรือแรงผลักที่ทำให้เกิดการพลิกคว่ำ หรือ turning over ของอาคาร แรงเหล่านี้ถือเป็นแรงถอนประเภทหนึ่ง ที่จะเดินทางผ่าน…

ตัวอย่างการ ออกแบบคานเหล็ก ประกอบรูปตัวไอ (Design Example of Built-Up I-Section Steel Beam)

ตัวอย่างการคำนวณที่นำเสนอนี้ จะเป็นรวมการวิเคราะห์โครงสร้าง และการ ออกแบบคานเหล็ก เพื่อเลือกหน้าตัดที่มีกำลังรับโมเมนต์ดัดที่เหมาะสมครับ รวมไปถึงการวิเคราะห์และคำนวณค่า Cb ที่จะเข้ามาเป็นตัวช่วยให้คานของเราสามารถรับโมเมนต์ดัดได้มากขึ้นด้วยครับ โดยตัวอย่างก็สมมติขึ้นมาง่ายๆ ดังรูปด้านล่าง ดังนี้ อาคารตัวอย่าง ตัวอย่างโจทย์ สมมติให้ระบบพื้นเป็นแผ่นพื้นสำเร็จเท topping หนา 5 cm. กำหนดให้ DL…

การเปรียบเทียบ ราคาพื้น Post Tension ระหว่างการใช้เสาเหล็กและเสาคอนกรีต

สำหรับเนื้อหาในหัวข้อนี้ ก็ตรงตามหัวข้อเลยครับ คือ เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบ ราคาพื้น post tension หากจะสามารถเปลี่ยนจากเสาคอนกรีต ไปเป็นเสาเหล็ก ได้นั่นเองครับ จากตอนที่ 4 – เรื่อง เปรียบเทียบกำลังรับน้ำหนักของเสาเหล็ก HSS และเสาคอนกรีตเราก็ได้เห็นกันแล้วนะครับว่า หากต้องการออกแบบให้กำลังรับน้ำหนักของเสาคอนกรีต มีกำลังรับแรงอัด (axial…

การออกแบบ Base plate ที่ต้องรับโมเมนต์ขนาดเล็ก

ต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้านี้ ที่เป็นเรื่องของ การออกแบบ base plate (แผ่นเหล็กรองใต้เสา) ที่ต้องรับ moment ขนาดใหญ่ หรือ large moment นะครับ การพิจารณาดังกล่าวนั้นจะมีความซับซ้อนที่ค่อนข้างมากหน่อย เนื่องจากเราสามารถโมเมนต์ที่เกิดขึ้นมีขนาดใหญ่ ทำให้ระยะของแรงที่เกิดขึ้นนั้น มีความยากลำบากในการพิจารณา พร้อมกับ bolt (สลักเกลียว)…

Concept การคำนวณ Base Plate ที่ต้องรับโมเมนต์ขนาดใหญ่ (Base Plate with Large Moment)

การออกแบบ base plate (แผ่นเหล็กรองใต้เสา) ตามทฤษฎีแล้วจะแบ่งการพิจารณาไว้ค่อนข้างหลายกรณีครับ เช่น รับแรงในแนวแกนอย่างเดียว ต้องรับทั้งแรงในแนวแกนและโมเมนต์ ซึ่งจะแบ่งเป็น (i.) small moment (ii.) large moment ต้องรับแรงเฉือน เป็นต้น ซึ่งในโพสต์นี้ก็จะเป็นพูดถึงเรื่องของการพิจารณา base plate…

5 เหตุผลที่ควรใช้ SSI Steel Design Application โปรแกรมออกแบบโครงสร้างเหล็ก

ออกแบบมาเพื่อใช้คำนวณโครงสร้างเหล็กโดยเฉพาะ SSI Steel Design เป็น โปรแกรมออกแบบโครงสร้างเหล็ก (แอพพลิเคชัน) เหมาะสำหรับทีมวิศวกร ผู้รับเหมา และนักเรียนนักศึกษาในการออกแบบโครงสร้างเหล็ก เป็นอย่างมาก ได้ผลลัพธ์รวดเร็วทันใจ ผู้ใช้งานเพียงแค่ใส่ค่าตัวแปรเหล็ก ทางระบบก็จะคำนวณผลลัพธ์ออกมาให้ทันที และยังสามารถ Export ออกมาเป็นไฟล์ PDF รวมถึงส่งตรงเข้าอีเมลได้ในทันที สะดวกและง่าย ด้วยการออกแบบแอปพลิเคชันที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นหลัก…

Stress และ Strain

พอดีไปเจอคลิปวิดีโอใน YouTube ที่น่าสนใจและคิดว่าดีมากๆ ครับ เลยอยากเอามานำเสนอให้กับทุกท่านให้ได้อ่านหรือฟังกัน ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องพื้นฐานเรื่อง stress และ strain ที่ทุกท่านน่าจะทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่คิดว่าในวีดีโอตัวนี้เค้าอธิบายไว้ได้ดีครับ เลยเอามาฝากกันซึ่งทั้ง Stress และ Strain นั้น ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ใช้สำหรับการอธิบายการตอบสนองของวัตถุต่อแรงภายนอกที่มากระทำ Stress (หน่วยแรง /…

Concept การออกแบบ Braced Frame ในอาคารโครงสร้างเหล็กที่มีลักษณะเตี้ยและสูงปานกลาง

เนื้อหาในครั้งนี้จะมาพูดถึงเรื่องของการออกแบบและการใช้งาน braced frame หรือชื่อภาษาไทย เราจะเรียกกันว่า “โครงแกงแนง” นะครับ (แค่อ่านก็หิวแล้ว 555+) ซึ่งจะเป็นเรื่องต่อจากโพสต์ก่อนนะครับ ที่คุยกันค้างไว้เรื่อง “การออกแบบอาคารโครงสร้างเหล็กเตี้ยและอาคารสูงปานกลาง” สำหรับ braced frame นี้ ก็เป็นระบบรับแรงทางด้านข้าง (lateral system) นะครับ…

จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก End – Plate Moment Connection AISC Design Guide No. 16

สำหรับท่านที่ทำงานออกแบบอาคารเตี้ย low-rise building ที่มีลักษณะการใช้งานเป็นโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า หรือที่เราคุ้นเคยกับชื่อ PEB แล้ว ก็คงจะคุ้นเคยกับ จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก (connection) ประเภทนี้ครับ และหากจำกันได้ โพสต์เมื่อนานมาแล้ว เคยนำเสนอเรื่องนี้ไปแล้วในบางส่วน แต่จะเป็นเนื้อหาที่อ้างอิงจาก Design Guide No. 4 ครับ…