Steel Base Plate (แผ่นเหล็กรองฐานเสา)
Concept และตัวอย่างการออกแบบสำหรับ  Base Plate รับแรงเฉือน

Concept และตัวอย่างการออกแบบสำหรับ Base Plate รับแรงเฉือน

สำหรับโพสต์นี้จะมาพูดถึงเรื่องของ base plate รับแรงเฉือน กันนะครับ แต่ก่อนอื่น ก็ต้องของพูดถึงพฤติกรรมทั่วไปที่เราพบเจอได้บ่อยๆ ของ bae plate ก่อนว่า

โดยปกติแล้ว การออกแบบ base plate ที่เราคุ้นเคยกันทั่วไปก็คือ base plate ที่ต้องรับแรงในแกนที่ถ่ายมาจากเสา ซึ่ง concept ของการออกแบบก็จะเป็นการหาความหนาที่สามารถต้านทานแรงที่เกิดขึ้นมาได้นั่นเองครับ นอกจากนี้ ก็ยังมีกรณีที่ base plate จะต้องรับทั้งแรงในแนวแกนและโมเมนต์ที่ถ่ายมาจากเสา ซึ่งเราก็จะแบ่งการออกแบบนี้เป็นการพิจารณาอีก 2 กรณี คือ
1. โมเมนต์ขนาดเล็ก
2. โมเมนต์ขนาดใหญ่

ซึ่งหากเป็นโมเมนต์ขนาดใหญ่ ในการคำนวณจะต้องคำนวณขนาดของสลักสมอ (anchor bolt) ที่เหมาะสมด้วย สามารถลองดู concept ได้จากโพสต์ก่อนหน้านี้ คลิก !  และ คลิก !

หลักในการออกแบบ base plate รับแรงเฉือน

ย้อนกลับมาที่ base plate ที่ต้องรองรับแรงเฉือนครับ หากถามว่าแรงเฉือนที่เราจะต้องพิจารณามาจากไหน ก็ต้องตอบว่าเนื่องจากแรงด้านข้างที่มากระทำ เช่น แรงลม แรงแผ่นดินไหว

ดังนั้น นอกจากเราจะต้องออกแบบส่วนของ base plate ให้สามารถรับแรงในแนวแกนและโมเมนต์ได้แล้ว ก็จะต้องออกแบบให้สามารถรับแรงเฉือนได้ไปพร้อมๆ กันครับ โดย concept ของการออกแบบก็จะมีอยู่ 3 concept ในการรับแรงด้วยกัน คือ

concept ของการออกแบบ base plate ที่ต้องรับแรงเฉือน

วิธีที่ 1 – การรับแรงเฉือนโดยการใช้แรงเสียดทานจาก base plate และคอนกรีต

1.การรับแรงเฉือนโดยการใช้แรงเสียดทานจาก base plate และคอนกรีต – ความต้านทานแรงเฉือนเกิดจากแรงอัดจากเสาที่ถ่ายลงมายัง base plate

ซึ่งทำให้เกิดเป็นแรงเสียดทานระหว่างคอนกรีตและ base plate ซึ่งกำลังรับแรงเฉือนก็สามารถพิจารณาได้จากแรงอัดสูงสุดที่กระทำ (compressive load, Pu) ที่ไปสอดคล้องกับแรงเฉือนที่เกิดขึ้น จึงได้รูปแบบของสมการกำลังรับแรงเฉือน (phiVn) เท่ากับ สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน (μ) คูณกับแรงอัดที่เกิดขึ้น (Pu) และนำไปปรับลดค่าด้วย phi นั่นเองครับ

การรับแรงเฉือนโดยการใช้แรงเสียดทานจาก base plate และคอนกรีต

วิธีที่ 2 – การถ่ายแรงเฉือนโดยใช้สลักสมอ (anchor bolt) เป็นตัวถ่ายแรง

2. การถ่ายแรงเฉือนโดยใช้สลักสมอ (anchor bolt) เป็นตัวถ่ายแรง – วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมทำกันเท่าไหร่ เนื่องจากจะต้องใช้ความระมัดระวังในการวิเคราะห์และประเมินมาก โดยเฉพาะเรื่องของพฤติกรรมการถ่ายแรงเนื่องจากการติดตั้ง

โดย AISC ได้แนะนำถึงวิธีการทำ detail ของ base plate ในลักษณะของการถ่ายแรงเฉือนด้วยสลักสมอไว้ >> การเตรียมรูเจาะจะต้องทำให้สามารถเกิดการเคลื่อนตัวได้ (slip) (รูปตรงกลาง) ก่อนที่ base plate จะเคลื่อนตัวไปชนกับสลักสมอ … สำหรับการทำ detail นั้นจะนิยมใช้แหวนรอง (washer) เชื่อมติดกับ base plate ซึ่ง washer จะต้องมีรูใหญ่กว่าขนาดของสลักสมออย่างน้อย 2 มม.

การถ่ายแรงเฉือนโดยใช้สลักสมอ (anchor bolt) เป็นตัวถ่ายแรง

วิธีที่ 3 – การถ่ายแรงเฉือนโดยใช้ shear lug และการฝังเสาและ base plate ลงในปูน

3. การถ่ายแรงเฉือนโดยใช้ shear lug และการฝังเสาและ base plate ลงในปูน – วิธีนี้จะเรียกเหมารวมว่าเป็นวิธีถ่ายแรงเฉือนแบบ bearing ครับ การคำนวณกำลังรับแรงเฉือนสำหรับการใช้ shear lug และการฝัง (embedment) ก็แตกต่างกัน

ซึ่งลักษณะการถ่ายแรงของการใช้ shear lug จะเริ่มต้นจากการที่มีแรงเฉือนมากระทำที่ฐานเสา และแรงนี้ก็จะเริ่มถ่ายผ่านสลักสมอไปยังคอนกรีต (หรือปูนเกราท์) ซึ่งเป็นผลเนื่องจากพฤติกรรมการสร้างกำลังต้านแรงเฉือนจากแรงกดอัดที่เกิดจากแรงอัดและ confinement effect และสลักสมอที่ต้องรับแรงดึง โดยในที่สุดแล้วก็จะทำให้เกิดพฤติกรรมการรับแรงเฉือนเนื่องจากแรงเสียดทาน

การถ่ายแรงเฉือนโดยใช้ shear lug และการฝังเสาและ base plate ลงในปูน

Concept ทั้งหมดก็จะเป็นประมาณนี้นะครับ แต่ในส่วนของตัวอย่างการคำนวณ ก็ขอยกตัวอย่างของการฝังเสาและ base plate ลงในคอนกรีต ซึ่งจะเป็นการหาความลึกในการฝังเพื่อรับแรงเฉือนที่เกิดกว่ากำลังที่คอนกรีตและ base plate รับได้ครับ ลองดูตัวอย่างกันในหน้าสุดท้ายนะครับ 😉

ตัวอย่างการคำนวณความลึกของระยะฝังของการฝังเสาและ base plate ลงในคอนกรีต




Spread the love