Corrosion and Method of Protection (การกัดกร่อนและวิธีการป้องกัน)
การทาสี vs. การเคลือบสังกะสี

การทาสี vs. การเคลือบสังกะสี

การทาสี vs. การเคลือบสังกะสี

#Painting vs. #galvanizing

วิศวกร หรือ สถาปนิกผู้ออกแบบ ท่านใดยังใช้ General note / Steel note ประมาณนี้อยู่บ้างครับ

1) ข้อปฏิบัติทั่วไปของผู้รับจ้างเกี่ยวกับงานทาสีกันสนิม

– ผู้รับจ้างจะต้องทาสีให้ถูกต้องตามแบบรูป และรายการก่อสร้าง อย่างเคร่งครัด หากพบว่างานสีไม่ได้มาตรฐานตามที่กําหนด ผู้รับจ้างจะต้องล้าง ลอกสีเก่าออก แล้วทาสีใหม่ให้ถูกต้อง โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม

– ในการทาสี ห้ามมิให้ผู้รับจ้างทาสีในขณะที่มีความชื้นสูงและพื้นผิวที่จะทาสีต้องแห้งสนิท และจะต้องยึดถือปฏิบัติตามคําแนะนําของผู้ผลิตสีอย่างเคร่งครัด

– ให้ใช้สี ชนิด และคุณสมบัติตามที่กําหนด และจะต้องเป็นของใหม่ไม่เคยใช้งานมาก่อน

ให้นําสีและภาชนะบรรจุสีที่กําหนดให้ใช้เท่านั้นเข้ามาในบริเวณก่อสร้าง สีและภาชนะบรรจุสีอื่น ๆ ห้ามนํามาเข้าในบริเวณก่อสร้างโดยเด็ดขาด

– ให้ผู้รับจ้างเสนอยี่ห้อ ชนิด และคุณสมบัติเพื่อขอความเห็นชอบจากผู้ออกแบบก่อนดําเนินการ

2) ข้อปฏิบัติในการเตรียมงานและรองพื้น การทาสีโครงสร้างเหล็ก

– พื้นผิวเหล็ก หรือโลหะที่มีส่วนผสมของเหล็ก ให้ขจัดสนิมออก โดยขัดถูดด้วยกระดาษทราย หรือแปรงลวด หรือล้างด้วยน้ำยาล้างสนิม และล้างออกด้วยน้ำสะอาด และเช็ดให้แห้ง ถ้าพบรอยเปรอะน้ำมัน ให้ขจัดด้วยน้ำยาไตรคลอโรเอทธิลีน หรือน้ำยาประเภทเดียวกันจากนั้นให้ทาสีรองพื้นกันสนิมตามที่ผู้ออกแบบให้ความเห็นชอบ

– การทาสีรองพื้น ให้ทาอย้างน้อย 1 ครั้ง

– การทาสีทับหน้า ให้ทาด้วยสีที่กําหนดให้ โดยถือปฏิบัติให้ถูกต้องตามคําแนะนําของผู้ผลิตสีนั้น ๆ โดยเคร่งครัด การทาทับหน้าให้ทาไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง การทาแต่ละครั้งจะต้องให้สีของชั้นเดิมแห้งสนิทเสียก่อน จึงจะทาทับครั้งต่อไปได้ เมื่อทาสีแล้วเสร็จจะต้องเรียบร้อยตามที่กําหนดไว้

และท่านใดยังสงสัยว่า จะทาสีกันสนิม ร่วมกับการเคลือบสังกะสีได้หรือไม่

วิศวกร หรือ สถาปนิก ควรเข้าใจพื้นฐานที่สำคัญก่อนว่า สนิม (rust) กับเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นคู่กัน สามารถอธิบายการเกิดของสนิมได้ด้วยปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี หรือ electrochemical reaction ระหว่างเนื้อโลหะที่มีค่าประจุไฟฟ้าที่แตกต่างกัน เกิดการแลกเปลี่ยน electron ระหว่างกัน จากขั้ว anode (เสีย electron แล้วเกิดประจุบวก) ไป cathode (รับ electron แล้วเกิดประจุลบ) ผ่านตัวกลางที่สามารถนำพา electron ได้ ที่เรียกว่า electrolyte โดยทั้งนี้ ปัจจัยพื้นฐานที่ส่งผลให้เนื้อเหล็กหรือเหล็กกล้าเอง เกิดการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างอนุภาคในระดับจุลภาค ก็เป็นเพราะเหล็กหรือเหล็กกล้านี้ มีความไม่เสถียรในตัวของมันเอง

ซึ่งกลไกไฟฟ้าเคมีดังกล่าวนี้ กล่าวโดยสรุปแล้ว จะมี 4 ปัจจัยที่ส่งผลให้เหล็กกลับสู่สภาวะที่เสถียร (คือเป็นเหล็กออกไซด์) ที่เราเรียกว่า #สนิม ประกอบไปด้วย (1) Anode เช่น สังกะสี แตกตัวเร็วเมื่อเทียบกับเหล็ก (2) Cathode เช่น ทองคำ คือ ศักย์สูงมาก เสถียรสุดๆ ไม่เกิดการกัดกร่อนไปตามกาลเวลา (3) Electrolyte เช่นน้ำกรด น้ำเกลือ หรือกระทั่งน้ำเปล่า (4) Oxygen ดังจะเห็นว่าเสาเข็มที่ตอกลงไปในดินลึกมากๆ จะไม่ต้องกังวลกับการเกิดสนิมมากนัก แม้ว่าจะมีทั้ง Anode Cathode และ Electrolyte ครบถ้วนก็ตาม

การตัด mechanism ดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้นได้ “กับเหล็ก” จึงมี 2 วิธีการใหญ่ ๆ คือ

(1) ตัดไม่ให้ Anode เชื่อมต่อกับ Cathode ด้วย Electrolyte ตรงนี้ #การทาสี #Painting ก็จะช่วยทำหน้าที่เป็นเสมือน #ฉนวน กันไม่ให้ “ขั้วบวก” กับ “ขั้วลบ” มาต่อกัน (ด้วย electrolyte) อย่างครบวงจร

(2) สร้าง Anode เทียมขึ้นมาตายแทน (sacrifice) เหล็กที่แตกตัวไว (Anode) กว่า เหล็กบริเวณที่แตกตัวช้า (Cathode) ด้วยการ #เคลือบสังกะสี #Galvanizing เพราะสังกะสีมีความไวในการแตกตัวสูญเสีย electron ได้ดีกว่าเหล็กมาก ทั้งนี้การเคลือบสังกะสีไม่ได้มีเฉพาะวิธีการจุ่มร้อน อาจใช้วิธีการผสมผงสังกะสีในสารผสม binder เรียกสีประเภทนี้ว่า Zinc rich paint ซึ่งจะมีระบุว่า Zn มีน้ำหนักกี่ % ของสีทั้งกระป๋อง

โดยทั้งวิศวกรและสถาปนิกผู้ออกแบบต้องเข้าใจด้วยว่า การกำหนด spec ดังแสดงข้างต้นนั้น ไม่ได้พิจารณาถึง #Durability หรือความทนทานที่เจ้าของอาคารคาดหวัง/ต้องการ และ #Corrosivity หรือ สภาพความรุนแรงของการกัดกร่อน ในสภาวะที่ใช้งานโครงสร้างเหล็ก

หากเราทราบว่าเจ้าของอาคาร #ต้องการความทนทาน ระดับใด โดยเราจำแนก #Durability ออกได้ 3 ระดับ และ #สภาพการกัดกร่อนรอบโครงสร้างเหล็ก หรือ #Corrosivity ซึ่งมีอยู่มี 5 ระดับ เป็นอย่างไร เราจะสามารถตีตารางได้ 3×5 = 15 ช่อง matrix โดย 15 ช่อง matrix นี้ ก็จะมีสูตรสีรองรับ ซึ่งแสดงไว้ใน #มาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง มยผ. 1333 ซึ่งวิศวกรหรือสถาปนิกผู้ออกแบบก็สามารถนำหลักการดังกล่าวไปใช้อ้างอิงกำหนด spec หรือแสดงเป็น General/Steel Note ต่อไปได้อย่างมีหลักการ/หลักปฏิบัติที่ดี ตั้งแต่ #การเตรียมผิว #spec ของ #ชั้นรองพื้น #primer ต่อไปจนกระทั่งถึง #ชั้นทับหน้า #topcoat

แม้ว่าสูตรสีที่สะท้อน #Durability และ #Corrosivity หนึ่งๆ จะมีหลายสูตร แต่เป็นหน้าที่ของวิศวกรหรือสถาปนิกผู้ออกแบบ ที่จะต้องทำการสอบราคาของสีแต่ละประเภทของแต่ละยี่ห้อ ว่าถูกแพงอย่างไร อะไรคือสูตรที่เหมาะสมกับงานและงบประมาณของเรามากที่สุดต่อไป

ทั้งนี้หากพิจารณาในรายละเอียด ในสูตรบางสูตร เรายังเห็น Zn (Zn rich paint) เป็นส่วนหนึ่งของระบบสี ซึ่งสะท้อนว่า Zn กับ สี มันใช้ร่วมกันได้แน่นอน

สงสัยก็สอบถามมาได้นะครับ

#การทาสี vs. การเคลือบสังกะสี  #การทาสี vs. การเคลือบสังกะสี

#WeLoveSteelConstruction

01
02
03
04
05
06

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel และ Line Officail Account ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love