Mechanics of Materials (กลศาสตร์ของวัสดุ)
แรงบิดและกำลังรับแรงบิดของโครงสร้างเหล็ก (torsional analysis of structural steel members)

แรงบิดและกำลังรับแรงบิดของโครงสร้างเหล็ก (torsional analysis of structural steel members)

หากจะพูดถึงเรื่อง torsion หรือว่าการบิดแล้ว มีสิ่งหนึ่งที่จะต้องพูดถึงและทำความรู้จักกันก่อน นั่นก็คือ shear center ครับ โดย shear center นี้ เป็นจุดที่เมื่อมีแรงกระทำกระทำกับ steel member ของเรา แล้วแรงกระทำนี้กระทำผ่านจุด shear center ก็จะทำให้หน้าตัดเหล็กของเราไม่เกิดการบิด หรือ torsion นั่นเองครับ

โดยหากหน้าตัดเหล็กโครงสร้างที่เราพิจารณานี้ มีหน้าตัดที่สมมาตรกันทั้ง 2 แกน จุด shear center นี้ก็จะอยู่ที่ตำแหน่งเดียวกับจุด centroid ครับ ยกตัวอย่างหน้าตัดที่สมมาตรกันทั้ง 2 แกน คือ wide flange, built-up I girder, round HSS หรือ rectangular HSS เป็นต้น

ส่วนหน้าตัดเหล็กโครงสร้างที่มีลักษณะสมมาตรแกนเดียว เช่น C-Channel, tees, Z-shape หรือ angle ก็จะมีตำแหน่ง shear center ที่แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมิติทางด้านรูปทรงที่แตกต่างกัน และก็อาจจะอยู่หรือไม่อยู่ที่ตำแหน่งเดียวกับ centroid อีกด้วย

กำลังรับแรงบิดของเหล็กโครงสร้างหน้าตัดต่างๆ (resistance of a cross section to a torsional moment)

เมื่อ member ที่มีแรงบิดมากระทำที่จุดใดๆ ตามความยาวแล้ว ก็จะทำให้เกิดการหมุนของหน้าตัดเป็นมุม zeta ขึ้น ซึ่งสำหรับหน้าตัดที่ไม่ได้เป็นท่อกลมนั้น การหมุนที่เกิดขึ้นนี้จะมาพร้อมกับลักษณะการบิดอีกอย่างนึงที่เราเรียกว่า warping ซึ่งเป็นการบิดที่ทำให้หน้าตัด (พิจารณาตามความยาว) เกิดการบิดออกจากระนาบ

โดยทั่วไปแล้ว หน้าตัดเหล็กที่จะมีประสิทธิภาพในการรับแรงบิดได้ดี จะเป็นหน้าตัดประเภทที่เรียกว่า closed section ซึ่งก็ตรงไปตรงมาก็คือ เป็นหน้าตัดที่มีลักษณะปิด เช่น ท่อเหลี่ยม ท่อกลม โดยหน้าตัดประเภทที่ว่านี้จะสามารถรับได้ดีกว่าหน้าตัดอีกประเภทที่เราเรียกว่า open section หรือ หน้าตัดเปิด เช่น wide flange, C-Channel, Z-Shape อะไรจำพวกนี้ครับ

สำหรับกำลังรับแรงบิดของเหล็กโครงสร้างหน้าตัดต่างๆ จะมาจาก 2 ส่วน คือ 1. กำลังรับ pure torsion และ 2. กำลังรับ warping ซึ่งจะมีตัวแปรต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้องมากมายนะครับ เช่น

1. G = ค่า shear modulus ของเหล็ก หน่วย ksc

2. J = torsional constant ของหน้าตัด หน่วย cm^4

3. E = modulus of section ของเหล็ก หน่วย ksc

4. Cw = warping constant ของหน้าตัด หน่วย cm^6

. ตัวแปรเหล่านี้ เราอาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง หากเราเคยออกแบบคานโครงสร้างเหล็ก และต้องคำนวณกำลังรับโมเมนต์สูงสุดเมื่อเกิด lateral torsional buckling นะครับ ซึ่งในสมการนั้น ก็จะมีตัวแปร 4 ตัวนี้อยู่ครบเลย

การคำนวณคุณสมบัติด้านการบิดของหน้าตัดเหล็ก (torsional properties)

คุณสมบัติที่ได้กล่าวไปข้างต้นนี้ สามารถคำนวณออกมาได้นะครับ ซึ่งมาจากการพิสูจน์สมการที่ซับซ้อนมากๆ (สังเกตได้ว่า หน่วยของตัวแปร J เป็นยกกำลัง 4 และ Cw หน่วยยกกำลัง 6) โดยเหล็กหน้าตัดต่างๆ ก็จะมีสมการการคำนวณที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง closed section และ open section

โดยใน code ก็ได้แสดงสมการสำหรับคำนวณตัวแปรด้านคุณสมบัติต่างๆ ไว้ให้แล้ว ซึ่งมีทั้งในรูปแบบที่ง่ายสำหรับการใช้งาน (เป็นค่าประมาณที่ใกล้เคียงกับสมการเต็มมากๆ) และรูปแบบที่ยากๆ ตัวแปรในสมการเยอะๆ ครับ

ยกตัวอย่าง ตัวแปรแรกที่จะต้องคำนวณก็ คือ ค่า torsional constant, J โดยตัวแปรนี้ สำหรับ open section ซึ่งทาง code ก็ได้ระบุไว้ว่าสามารถใช้ค่าประมาณได้จาก summation ของ bt^3 / 3 หรือก็คือ การคำนวณค่า J แบบแยกชิ้น เช่น หน้าตัด built-up I girder ก็ให้คำนวณค่า J จาก top flange + bottom flange + web ก็จะได้ค่า J ของหน้าตัดออกมาใช้งาน (ส่วนสมการที่แม่นยำกว่านี้จะแสดงในรูปนะครับ

หรือตัวแปร Cw ก็มีสมการอย่างง่ายสำหรับ open section ไว้ให้ด้วย คือ Cw = Iyh^2 / 4

ทั้งหมดก็ประมาณนี้นะครับ หวังว่าทุกท่านน่าจะได้ประโยชน์จากเนื้อหาในวันนี้

ขอบคุณทุกท่านที่ติดตาม

#welovesteelconstruction





Spread the love

Leave a Reply