Structural Collapse (การวิบัติของโครงสร้าง)
เหตุการณ์ภัยพิบัติจากการพังถล่มของโครงสร้างที่ถือเป็นไฮไลท์ของปี 2022  (Structural Collapse of 2022)

เหตุการณ์ภัยพิบัติจากการพังถล่มของโครงสร้างที่ถือเป็นไฮไลท์ของปี 2022 (Structural Collapse of 2022)

การพังถล่มของโครงสร้างที่ถือเป็นไฮไลท์ของปี 2022

ปีที่ผ่านมาเราได้เจอเหตุการณ์โครงสร้างเหล็กพังถล่มปีที่ผ่านมา สำคัญๆ 2 เหตุการณ์

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 เกิดเหตุการณ์ค้ำยันนั่งร้านระบบลิ่มล๊อค Ring Lock ที่รองรับการเทคอนกรีตโครงการ One Bangkok เกิดการพังวิบัติระหว่างการเทคอนกรีต ซึ่งเราได้เรียนรู้หลักการทางทฤษฎีว่า ในการออกแบบระบบองค์อาคารรับแรงอัด แม้ว่าเงื่อนไขพื้นฐานจะไม่มีแรงทางข้าง แต่ในการออกแบบยุคใหม่ เช่น ตาม AISC 360-16 ก็จะมีการกำหนดให้มีการใส่ #แรงเสมือนทางข้าง หรือ notional load ซึ่งน่าจะเป็นการดีหากผู้ออกแบบระบบค้ำยันนั่งร้าน ต้องพิจารณาแรงทางข้างที่มาทำให้ระบบนั่งร้านเกิดการสูญเสียเสถียรภาพ #destabilization ทั้งระบบได้ โดยแนวทางการจัดการกับประเด็นนี้นั้น ก็ควรมีการติดตั้งตัวค้ำยันแนวทแยง ให้กับระบบค้ำยันนั่งร้าน แม้ว่าในทางทฤษฎี ค้ำยันนั่งร้านจะสามารถรองรับแรงอัดในแนวดิ่งได้ก็ตาม

อีกเหตุการณ์หนึ่งเป็นเหตุการณ์พังถล่มของโครงหลังคาโครงสร้างเหล็ก อาคาร Service Hall ที่สนามบินดอนเมือง ในวันที่ 18 เมษายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่สภาพอากาศในบ้านเราเกิดพายุฤดูร้อน เกิดฝนตกหนักและลมพัดรุนแรง เหตุการณ์นี้ให้ข้อเตือนใจกับเราว่า Structural steel detailing หรือการทำรายละเอียดโครงสร้างเหล็กนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ โดยรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับคานยื่นโครงหลังคา Overhanging roof คือการ ต่อยื่นคาน (จันทัน) ให้ continue ต่อออกจากแนวเสาที่รองรับโดยไม่ตัดคาน และใช้เสามารองรับใต้คาน แทนการตัดคาน discontinue แล้วต่อส่วนคานยื่นด้วย moment connection เข้ากับเสา ซึ่งมีต้นทุนสูงและมีความเสี่ยงต่อความเสียหายได้ง่ายกว่าการ continue rafter ให้ overhang ออกมา

นอกจากนี้ จากภาพจะเห็นว่าปลายคานยื่นยังไม่ปรากฏ lateral bracing member ที่มาช่วย #stabilize คานยื่นไม่ให้เกิดการวิบัติออกทางข้าง ด้วย metal sheet ด้านบนไม่สามารถค้ำยันทางข้างได้ด้วยเหตุที่ส่วนรับแรงอัดของคานยื่นอยู่ที่ปีกล่าง (negative moment) ซึ่งผู้ออกแบบ จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงเหตุแห่งปัญหาและแนวทางการจัดการด้านเสถียรภาพของโครงสร้าง

ทั้งสองเหตุการณ์ถือเป็นบทเรียนสำคัญให้กับผู้ออกแบบโครงสร้างเหล็ก ได้ศึกษาเรียนรู้ นี่ยังไม่นับรวมการพังถล่มของคานสะพานกลับรถที่บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำท่าจีน ถนนพระรามสอง พังถล่มลงระหว่างการปรับปรุงซ่อมแซมผิวทาง ในวันที่ 31 กรกฎาคม ที่เราได้บทเรียนสำคัญคือ เมื่อถึงคราวต้องถอดส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นสิ่งปลูกสร้าง removal of structural and nonstructural components ก็ควรต้องไล่ลำดับการถอด ตามลำดับการติดตั้ง … concrete barrier ติดตั้งภายหลังจาก structural concrete deck ติดตั้งแล้วเสร็จจน form diaphragm action สมบูรณ์ ส่งผลให้คานที่รองรับ concrete deck มีเสถียรภาพทางข้าง lateral stability

ทั้ง 2 เหตุการณ์ข้างต้น ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำสอง และทั้งสองโพสต์ที่กล่าวถึงการพังถล่มดังกล่าวนี้ ก็เป็นโพสต์ที่ได้ reaching มากที่สุด 5 อันดับแรกของ We Love Steel Construction Facebook ในปี 2022 นี้ด้วยครับ

#การพังถล่มของโครงสร้างที่ถือเป็นไฮไลท์ของปี 2022 / การพังถล่มของโครงสร้างที่ถือเป็นไฮไลท์ของปี 2022 

#เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้วิศวกรผู้ออกแบบ

#WeLoveSteelConstruction

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love