Wind Load (แรงลม)
Wind load มยผ. vs. ASCE

Wind load มยผ. vs. ASCE

Wind load มยผ. vs. ASCE

VDO เรื่องแรงลมดูเพิ่มเติมได้จากลิ้งค์นี้ครับ https://www.youtube.com/watch?v=3LTT2x3kRWU

หลายท่านสอบถามมาเกี่ยวกับการแปลงจาก มยผ. เป็น ASCE

ก่อนอื่นต้องเรียนว่าเรามีข้อจำกัดอยู่พอประมาณนะครับในการตอบคำถามนี้

– ประการแรกคือ เราเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมแรงลม aerodynamic พลศาสตร์ขั้นสูง และเราก็ไม่ได้ช่ำชองด้านการพิจารณาหลักการทางสถิติมากนัก เรียกว่าพอเขาใจได้ พอถูไถไปได้ จึงอาจจะไม่สามารถตอบได้อย่างลึกซึ้งในทุกประเด็นครับ

– ประการถัดมา เราเข้าใจว่า NBCC ซึ่งเป็นต้นแบบของ มยผ. นั้นมี concept ในการพิจารณา ที่แตกต่างจาก ASCE พอสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรากฏเห็นคือ directionality effect และ การ identify ลักษณะของอาคาร (ยิ่งตอนนี้หากไปดู ASCE 7-22 แล้ว ยิ่งไปใหญ่เลยครับ มีทั้ง (1) open (2) partially open (3) partially enclosed และ (4) enclosed หลักในการจำแนกก็แตกต่างกัน) ดังนั้นการปรับเทียบ apple to apple ให้เท่ากันนั้น เราคิดว่า #เป็นไปไม่ได้ แบบทับกัน 100% ครับ

แต่เราคงต้องเดินหน้าต่อไป เท่าที่เราพอจะทำได้ เพราะ สัมประสิทธิ์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Cp หรือ pressure coefficient ที่เราต้องทำการทดสอบด้วยอุโมงค์ลมนั้น มันแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะอาคาร shape / form / dimension ที่หลากหลาย ซึ่งแน่นอนว่า recent code รุ่นใหม่ๆ จะมีค่า Cp สำหรับอาคารหลากหลายประเภทมากกว่า code รุ่นเก่าๆ เราจึงต้อง ศึกษา code รุ่นใหม่ๆ … จึงมีความจำเป็นที่เราต้องปรับวิธีการมอง ปรับ concept ของเราให้ทัน code รุ่นใหม่ๆ ด้วย

โดยหลักการแล้ว ASCE รุ่นใหม่ๆ จะ “เพิ่มคาบการกลับ หรือ MRI” ใน wind map โดยจำแนกเป็นความเสี่ยง 4 ระดับ (risk category) โดยใน ASCE รุ่นเก่าก็จะเหมือนกับ NBCC หรือ มยผ. คือ ผลักความเสี่ยง 4 ระดับนี้ ไปที่ Importance factor (Iw) ซึ่ง ASCE รุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ ปี 2016 นั้น ไม่มีปรากฏอยู่อีกต่อไปแล้ว

และที่ว่า “เพิ่มคาบการกลับ หรือ MRI” นั้น แต่เดิม ASCE รุ่นเก่า ที่อ้างอิงกับ NBCC หรือ มยผ. จะกำหนดที่ 50 ปี (โอกาสเกิดในแต่ละปี = 1/50 = 2% โอกาสไม่เกิดในแต่ละปี = 98% หรือ 0.98 โอกาสไม่เกิดใน 50 ปี เท่ากับ 0.98^50 = 0.364 = 36.4% หรือ โอกาสเกิดใน 50 ปี = 63.6%) ในขณะที่ ASCE 7-16 นั้น อ้างอิงตาม risk category 2 (เดิม risk category 2 นี้ Iw =1 อ้างอิงตาม ASCE 7-05) กำหนด MRI ที่ 700 ปี

#แล้วมันจะไปพิจารณาให้อยู่ระนาบเดียวกันได้อย่างไร … คำตอบไปอยู่ที่ load combination ครับ

คือ load combination ทั้ง ASD ก็ดี หรือ LRFD ก็ดีนั้น ชุดของ load combination ที่มีแรงลมประกอบอยู่ด้วยนั้นจะมี load factor ที่ไปคูณแรงลมที่แตกต่างกัน โดยแตกต่างกันถึงราว 60% แน่นอนว่านี่เป็นอีกหนึ่งของผลที่เกิดจากการพิจารณา MRI ที่แตกต่างกัน

ตรงนี้ #วิศวกรผู้ออกแบบชาวไทยต้องระมัดระวังให้มากถึงมากที่สุด เพราะ load combination ของเรานั้น #เป็นข้อกฎหมาย ระบุในกฎกระทรวง ไม่ทำนี่ผิดกฎหมายอาญานะครับ โทษจำโทษปรับตามมา ไม่ได้แค่ว่ากล่าวตักเตือน ไม่ได้แค่พักใช้หรือยึดใบอนุญาต (กว.) นะครับ ต้องให้ความสำคัญมากๆ เพราะกฎหมายก็คือกฎหมายครับผม

#Wind load มยผ. vs. ASCE

#WeLoveSteelConstruction

1
2
3
4
5
6
7
8
9

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love