ตัวอย่างการคำนวณแรงลม และถ่ายแรงสำหรับอาคารเตี้ย อย่างละเอียด

สำหรับเนื้อหาในบทความนี้จะเป็นการนำ ตัวอย่างการคำนวณแรงลม พร้อมการถ่ายแรงเข้าโครงสร้าง สำหรับอาคารเตี้ย หรือ low-rise buildings ให้ได้ลองดูกันนะครับ ก่อนอื่นเลย คงต้องพูดถึงว่าทำไมวิศวกรผู้ออกแบบอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าถึงต้องเข้าใจแรงลมที่กระทำกับอาคารประเภทนี้ (อาคารเตี้ย) ซึ่งคำตอบก็น่าจะเป็นเรื่องของการ optimization ให้โครงสร้างเกิดความประหยัดมากที่สุดนั่นเอง เนื่องจากงานอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าเหล่านี้ เป็นตลาดที่มีกำไรค่อนข้างต่ำ และแข่งขันกันด้วยเรื่องของราคาเป็นหลัก ซึ่งเหตุผลเหล่านี้ก็เป็นเหตุทำให้การออกแบบต้องทำออกมาได้อย่างประหยัดที่สุด อาคารมีน้ำหนักเบาที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากน้ำหนักของอาคารส่งผลต่อราคาเหล็กที่จะต้องสั่งซื้อมาก่อสร้าง…

โครงข้อหมุน (Truss) การออกแบบโครงหลังคาที่มีแรงลมมากระทำ

สำหรับตัวอย่างการคำนวณ โครงข้อหมุน (Truss) จากครั้งก่อนๆ ที่เคยทำตัวอย่างในการหา (1.) Reaction (2.) Internal force ที่เกิดขึ้นในแต่ละ member และ (3.) ออกแบบเพื่อเลือกหน้าตัดเหล็กที่เหมาะสม ซึ่งตัวอย่างเหล่านั้นจะเป็นเพียงการพิจารณาเพียง dead load และ roof…

ตัวอย่าง การคำนวณแรงลม และการถ่ายแรงลมเข้าสำหรับอาคารสูงปานกลาง

สำหรับเรื่องของแรงลมในโพสต์เก่าๆ ก่อนหน้านี้ เราได้พูดถึง การคำนวณแรงลม สำหรับอาคารเตี้ย (low-rise building) ทั้งตามวิธีของ มยผ. 1311 และ ASCE 7 กันไปค่อนข้างมากแล้ว รวมไปถึง การคำนวณแรงลม ที่กระทำกับหลังคารูปแบบต่างๆ เช่น หลังคาทรงโดม และทรง…

วิธีการ แปลงความเร็วลม ที่คาบเวลากลับต่าง ๆ ตาม มยผ. 1311

หากต้องการใช้ load combination ตาม ASCE 7-05 แล้ว อย่างแรกเลย ถือว่าเป็นสิ่งที่เน้นย้ำกันอยู่ตลอด ก็คือ จะต้องเปลี่ยนความเร็วลมจากเฉลี่ย 1 ชั่วโมง ให้เป็น 3 วินาทีเสียก่อน ซึ่งใน มยผ. ส่วนอธิบายเพิ่มเติมก็ได้บอกไว้ว่าให้ทำการคูณด้วย 1.52 ยกตัวอย่างเช่น หากพิจารณาออกแบบอาคารในพื้นที่ กรุงเทพฯ ความเร็วลมเฉลี่ยที่ระบุจะมีค่าเท่ากับ 25 m/s จากนั้นทำการคูณด้วย 1.52 >> 25 x 1.52 = 38 m/s ครับ หากลองไปเปิดดูใน ASCE 7-05 ก็จะเห็นว่ามีค่าเท่ากันเป๊ะเลย