
Steel Construction Innovation – Past, Present and Future
Steel Construction Innovation – Past, Present and Future
โดย คุณ ณัฐพล สุทธิธรรม Head of Steel Construction Technology and Market Development, SSI PCL.
บรรยายในวันแรกของงาน SSI Steel Construction Forum 2022 ระหว่างวันที่ 25-28 ตุลาคมนี้ ผ่านระบบ zoom
………………………………………………
จากความล้มเหลวในกิจการโรงถลุงที่ประเทศอังกฤษ เมื่อราว 8 ปีก่อน SSI ได้ปรับวิสัยทัศน์ และทิศทางจากการเป็นผู้พัฒนาวัตถุดิบที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ไปสู่การเป็นผู้พัฒนาขับเคลื่อนการใช้งานปลายทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน construction sector ซึ่งเป็น sector ที่มีการบริโภคเหล็กสูงที่สุดของประเทศ
การขับเคลื่อนของ SSI ไปยังกลุ่ม construction sector นั้น ได้ดำเนินการผ่านการจัดตั้งหน่วยธุรกิจที่ให้บริการด้านงานออกแบบและก่อสร้างอาคาร อย่าง Building Tech หรือ BDT และ บริษัทในเครืออย่าง บจก. West Coast Engineering หรือ WCE ก็ได้ขยายกิจการจากบริษัทที่ให้บริการงานซ่อมบำรุง ไปสู่งานบริการแปรรูป (fabrication) และติดตั้ง (erection) รวมไปจนถึงงานให้บริการออกแบบ แปรรูป และก่อสร้างแบบครบวงจร หรือ EPC (Engineering – Procurement – Construction) ซึ่งงานที่เป็น highlight สำคัญก็เป็นงานก่อสร้างสะพานพระราชวังจันทน์ ข้ามแม่น้ำน่าน จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นสะพานโครงสร้างเหล็กระบบ Steel Arch Bridge with Vertical Ties แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งได้ส่งมอบให้กับกรมทางหลวงชนบทและเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับพี่น้องชาวพิษณุโลกได้ทันกำหนดเวลา
นอกเหนือจากงานบริการอย่างครบวงจรในด้านงานก่อสร้างด้วยเหล็ก ทั้งอาคารและโครงสร้างพื้นฐานแล้ว SSI ยังได้มีส่วนร่วมกับการร่างมาตรฐาน และแนวปฏิบัติต่างๆ ทั้ง มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ และแนวปฏิบัติสำหรับการออกแบบอาคารเหล็กสำเร็จรูปสำหรับอาคารโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า โดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย มาตรฐานการแปรรูปและติดตั้งโครงสร้างเหล็ก โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ตลอดจนการพัฒนาความรู้ความชำนาญของวิศวกร ผ่านเฟสบุ๊ค เว็บไซท์ ตลอดจนการพัฒนา mobile application ด้านการคำนวณโครงสร้างเหล็ก เพื่อลดระยะเวลาการทำงานของวิศวกรผู้ออกแบบ ช่วยในการตัดสินใจหน้างาน และช่วยตรวจสอบความถูกต้องของ calculation ที่ได้จาก commercial software ต่างๆ บนระบบปฏิบัติการทั้ง iOS และ Android
ไม่เพียงเท่านั้น SSI ยังได้ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสำหรับงานก่อสร้างใหม่ๆ จนเข้าสู่การขอรับทั้งอนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเป็นนวัตกรรมเสาท่อเหล็กกับงานพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือพื้นคอนกรีตอัดแรง (post-tensioned floor) และการใช้เหล็กแผ่นลาย (checkered plate) เข้ามาเป็นทางเลือกในการเสริมกำลังรับแรงเฉือนให้กับพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กหรือพื้นคอนกรีตอัดแรง ซึ่งน่าจะช่วยสร้าง value ให้กับเจ้าของอาคารได้เป็นอย่างดี ทั้งการลดระยะเวลาการก่อสร้างลง การควบคุมคุณภาพของงานก่อสร้างจากการผลิตมาจากโรงงาน ซึ่งจะช่วยในเรื่องของความแม่นยำ คุณภาพของวัสดุ และการเพิ่มพื้นที่ใช้สอย ซึ่งนอกจากจะช่วยเติมเต็มจินตนาการให้กับสถาปนิกผู้ออกแบบจากการที่เสามีขนาดเล็กลงแล้ว เจ้าของอาคารยังสามารถสร้างประโยชน์จากพื้นที่สุทธิ (พื้นที่ทั้งหมด หักพื้นที่เสาและ shear wall) ที่เพิ่มมากขึ้น สามารถปล่อยเช่าพื้นที่หรือขายพื้นที่ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ในท้ายที่สุด จะกล่าวถึงแนวโน้มการนำเหล็กไปใช้กับงานก่อสร้าง ซึ่งในต่างประเทศ ได้มีการนำเสนอโดย Jon D Magnusson ในเวทีงานสัมมนาด้านโครงสร้างเหล็กของสหรัฐอเมริกา โดยคาดการณ์ว่าจะมีอยู่ 3 trend ที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันไกล้นี้
และสำหรับประเทศไทย จะเป็นอย่างไรต่อนั้น ติดตามได้ทาง SSI Steel Construction Forum: Steel Construction Innovation – Past, Present, and Future
# Steel Construction Innovation
# Steel Construction Innovation
……………………………………………….
ท่านสามารถลงทะเบียนได้ทาง
https://construction-forum.ssi-steel.com/
ค่าลงทะเบียนเพียง 500 บาท
ตลอดงานสัมมนา 4 วันกับ 17 หัวข้อ
………………………………………………
ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับเอกสารประกอบคำบรรยายในทุกหัวข้อ
………………………………………………
โปรดติดตามรายละเอียดทางเทคนิคด้านโครงสร้างเหล็กได้ทาง
YouTube: www.youtube.com/c/welovesteelconstruction
Facebook: www.facebook.com/welovesteelconstruction
และเพิ่มเราเป็นเพื่อนกลุ่มไลน์ได้ที่ LINE ID: @060tlizi (https://lin.ee/PBxAt4U)




สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook