งานก่อสร้าง โครงถักขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ด้วยวิธีการสไลด์
โครงถักขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ : อาคาร ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ แห่งใหม่นี้ สร้างบนพื้นที่ของศูนย์ประชุมแห่งเดิม แต่เพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้มากยิ่งขึ้นด้วยการ ขุดพื้นที่ชั้นใต้ดินสำหรับเป็นพื้นที่จอดรถ ซึ่งศูนย์ประชุมแห่งเดิมนั้นที่จอดรถมีจำนวนที่จำกัดมาก และก่อสร้างเต็มพื้นที่เดิม โดยมีข้อจำกัดที่สำคัญคือ “เวลา” ที่ต้องเร่งรัดให้ทันต่อการประชุมผู้นำความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เอเปคมีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง (ข้อมูลจาก https://www.apec2022.go.th/th/what-is-apec-th/)
ด้วยมีความจำเป็นต้องควบคุมระยะเวลาการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จราววันที่ 10 กันยายน 2565 งานก่อสร้างจึงต้องดำเนินการอย่างคู่ขนานในหลายๆ ส่วน งานบางส่วนจำเป็นต้องมีการกำหนดรูปแบบวิธีการก่อสร้างที่ช่วย “ร่นระยะเวลาแล้วเสร็จ” ให้เร็วยิ่งขึ้น งานสัมมนาในหัวข้อนี้ จะเป็นการนำเสนอวิธีที่บริษัทผู้รับเหมา Thai Obayashi ได้นำเสนอต่อผู้ควบคุมงานก่อสร้าง (บมจ. Stonehenge)
บริเวณส่วนโถง (Main Hall) กึ่งกลางอาคาร จะเป็นช่วงที่ไร้เสา มี clear span ที่ยาวมาก ระบบโครงสร้างหลังคาที่ผู้ออกแบบได้เลือกใช้เป็นระบบ space truss ที่พาดจากทิศเหนือไปจรดทิศใต้ของโถงกลางอาคาร โดย Thai Obayashi ได้กำหนดวิธีการติดตั้งโครง space truss นี้จากฝั่งทิศตะวันตก ซึ่งมี platform และระบบค้ำยันชั่วคราวรองรับ จนแล้วเสร็จ จึงทำการ slide เลื่อนไปยังบริเวณทิศเหนือของโถงกลาง
ด้วยเป็นวิธีการที่ยัง #ไม่เคยนำมาใช้กับงานก่อสร้างในประเทศไทยมาก่อน Thai Obayashi จึงได้ระดมผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้คำแนะนำในงานก่อสร้าง ตลอดจนจัดทำ mock up ตัวอย่างก่อนดำเนินการก่อสร้างจริง และติดตั้งระบบตรวจติดตาม monitoring ในระหว่างการดำเนินงานก่อสร้างจริงเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผลงานที่ได้อีกด้วย
ขั้นตอนในงานก่อสร้าง ตั้งแต่งานติดตั้งส่วนของโครงสร้างเหล็กสำหรับเป็นโครงถักหลังคา พร้อมกับการควบคุมระยะการแอ่นตัวจากน้ำหนักโครงสร้างเอง จากนั้นจึงดำเนินการติดตั้งระบบเครื่องกล ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบปรับอากาศ และระบบไฟฟ้าแสงสว่างอย่างเป็นขั้นตอน โดยในงานสัมมนา วิทยากรจะนำเสนอถึงเทคนิควิธีการอย่างละเอียด พร้อมอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่ออำนวยให้การติดตั้งเป็นไปได้อย่างราบรื่น
งานสัมมนาหัวข้อนี้ถือเป็นหนึ่งใน #ไฮไลท์ สำคัญของงาน SSI Steel Construction Forum 2022 ด้วยทั้งเป็นโครงการขนาดใหญ่ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ทันกับแผนที่วางเอาไว้ มีการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมด้านงานก่อสร้างใหม่ๆ โดยเป็นโครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ ซึ่งน่าจะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาลต่อวิศวกรชาวไทยทุกๆ ท่าน
# โครงถักขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
………………………………………………
งานก่อสร้างโครงถักยักษ์ของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ด้วยวิธีการสไลด์ ( Super truss Construction by Sliding Method for QSNCC Project)
โดย คุณคณาพจน์ ทองพันธุ์ จาก บจก.นันทวัน (Thai Obayashi)
วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม 2565 เวลา 14:00-16:00 น.
ในงาน SSI Steel Construction Forum 2022
………………………………………………
# โครงถักขนาดใหญ่ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ข้อมูลเพิ่มเติมมีแสดงตามรูปภาพด้านล่างได้เลยครับ
………………………………………………
หากท่านสนใจ สามารถสมัครได้ทาง link ด้านล่างนี้
https://construction-forum.ssi-steel.com/
ค่าสมัครเพียง 500 บาท 17 หัวข้อสัมมนาตลอด 4 วัน (รวมระยะเวลากว่า 20 ชั่วโมง)
………………………………………………
ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับ
เอกสารประกอบคำบรรยายครับทุกหัวข้อ
.
ผู้เข้าสัมมนาที่ลงทะเบียน 200 ท่านแรกจะได้รับ (#ฟรี )
มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (ราคาเล่มละ 450 บาท)
.
รีบสมัครกันนะครับ
มาตรฐานการออกแบบฯ วสท. ใกล้จะหมดแล้ว
……………………………………………………………………….
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
โทรศัพท์ 065-9791316, 065-5132430
Email : SSIForum2022@gmail.com
Line Official : We Love Steel Construction (https://lin.ee/PBxAt4U)
Line ID : @060tlizi
Inbox Facebook: We Love Steel Construct
สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook