การพิจารณา แรงลม สำหรับอาคารโรงงาน และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (มยผ.1311-50 และ ASCE7-16)
Introduction to Wind Load
การพิจารณา แรงลม สำหรับอาคารโรงงาน : การออกแบบอาคาร เพื่อให้สามารถรองรับต่อ action จากแรงกระทำจากภายนอกประเภทต่าง ๆ นั้น ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่สุดของวิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้าง ในภาพรวม วิศวกรผู้ออกแบบต้องเข้าใจธรรมชาติของแรงแต่ละประเภทที่มากระทำ โดยอาจมองย้อนไปในลักษณะที่ว่ากระทำต่อเนื่อง แช่ค้าง หรือกระทำเป็นครั้งคราว มาแล้วก็ไป ตรงนี้ลองนึกถึงสภาพร่างกายเราเอง เวลาต้องถือของไว้เป็นเวลานานๆ ข้าวถุง 5 กิโลกรัม ถือสัก 10 นาที เทียบกับยกน้ำ 10 ลิตร 10 กิโลกรัม ยกแล้วก็วางลง ลักษณะของโครงสร้างก็จะเกิด “ภาระ” ที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ โครงสร้างยังต้องรับแรงกระทำใน scenario ที่หลากหลาย เช่น ในระหว่างการก่อสร้างที่การตกแต่ง และ superimposed dead load ยังไม่ 100% หรือในสภาวะการใช้งานปกติ คนอยู่เต็มอาคารมีลมพัดเอื่อย ๆ มีแรงแผ่นดินไหวเบา ๆ หรือในสภาวะที่ extreme มีลมพายุไต้ฝุ่น ดีเปรสชั่นพัดเข้ามา กรมอุตุนิยมวิทยามีการแจ้งเตือนล่วงหน้า คนเข้าที่พักเพื่อหลบภัยกันไป … scenario ต่าง ๆ เหล่านี้ วิศวกรก็จะต้องคำนึงถึง โดยเป็นการพิจารณา ผลรวมของน้ำหนักบรรทุก (loadcombination) ตามเงื่อนไขในมาตรฐานการออกแบบโครงสร้าง และที่กฎหมายกำหนด
แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น วิศวกรจะเป็นจะต้องทำความเข้าใจและคำนวณหา “แรง” ที่มากระทำกับโครงสร้างให้ได้เสียก่อน สำหรับการคำนวณหา dead load นั้น ก็เพียงคำนวณหาขนาดมิติไปคูณกับปริมาตรขององค์อาคารโครงสร้าง ตลอดจนน้ำหนักบรรทุกคงที่ ที่เพิ่มเติมเข้ามา และสำหรับ live load ก็สามารถดูได้จากกฎกระทรวงมหาดไทย (ปัจจุบัน ฉบับที่ 6 แต่กฎนี้กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข และยกร่างออกมาเป็นกฎกระทรวงฉบับใหม่อยู่) ขึ้นกับลักษณะการใช้อาคาร เช่น เป็นห้องนอน ห้องทำงาน ห้องสมุด ทางเดิน ฯลฯ
ส่วน “แรงลมและแรงแผ่นดินไหว” นั้นเป็นลักษณะที่แตกต่างออกไป เพราะ
ลักษณะของแรง ไม่ได้มีลักษณะเป็นแรงสถิต (static) กระทำต่อเนื่องเหมือนกับ dead load และ live load แต่เป็นแรงพลวัต (dynamic) ที่ขนาดของแรง มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับลักษณะทางโครงสร้าง แรงลมแรงแผ่นดินไหวจะมากหรือน้อยไม่ได้เป็นอิสระกับ ขนาดเสา คาน พื้น ผนัง ช่องเปิด ฯลฯ
แรงแผ่นดินไหวกระทำผ่านการเคลื่อนที่ของพื้นดินจากจุดหยุดนิ่ง ไปซ้ายที ขวาที สั่นไปมา เกิดความเร่งของพื้นดิน (ground acceleration) ไปเหนี่ยวนำ (induce) ให้เกิดความเร่งของตัวอาคาร เรียกว่าความเร่งตอบสนอง (response acceleration) ตัวอาคารมีมวล (mass) เมื่อมีมวล (m) มีความเร่ง (a) ก็เกิดเป็นแรงแผ่นดินไหว F= ma ขึ้น แต่อาคารมีสติฟเนส (k) และเกิดการเสียรูปเมื่อสั่นไหว (s) เกิดเป็นแรง F = ks ขึ้น ซึ่งจะเห็นว่าแรงแผ่นดินไหว เป็นผลจากความเร่งของพื้นดิน และ สติฟเนสของโครงสร้าง
แรงลมเป็นอีกลักษณะที่แตกต่างออกไป คือ เป็นของไหล (fluid) มองลมคล้ายๆ น้ำ คือเมื่อไหลเข้าสู่หน้าปะทะ ด้านต้นลม (windward) ก็จะไม่เหมือนกับ dead load ที่กระทำ (ไม่เฉพาะว่าลักษณะเป็น dynamic หรือ static) ซึ่ง dead load ไม่เกิดการไหล แต่ลมเมื่อปะทะแล้วสามารถไหลออกด้านข้างของหน้าปะทะลม ทำให้ขอบมุมที่หน้าปะทะก็อาจเกิดแรงลมเพิ่มขึ้น ลมผ่านหน้าปะทะแล้วยังอาจไหลม้วน ดูดที่ด้านหลังหน้าปะทะ เกิดแรงดูด (suction) ได้อีก นอกจากนี้สำหรับอาคารที่มีมิติ แรงลมที่กระทำในทิศทางที่ลมปะทะ (along wind direction) ซึ่งแน่นอนต้องรับแรงลมอยู่แล้ว ยังส่งผลให้เกิดแรงลมในทิศทางตั้งฉากกับทิศทางที่ลมปะทะ (across wind direction) ได้อีกด้วย นี่เป็นลักษณะพิเศษของลมที่ผู้ออกแบบโครงสร้างจำเป็นต้องรู้
ลมเมื่อพัดผ่านอาคารที่เปิดโล่ง ก็จะพัดผ่านไปได้ง่าย แต่หากลมพัดเข้าสู่ตัวอาคารที่มีช่องเปิด ก็เสมือน อัดของไหลเข้าสู่ภาชนะปิด (เช่นลูกโป่ง) เกิดความดันที่ผลักผนังด้านในของตัวอาคาร เรียกว่า positive internal pressure (+) แต่หากพัดมาอีกด้าน เข้าสู่ด้านที่ประตูหน้าต่างปิด แต่ด้านหลังหรือด้านท้ายลม (leeward) มีช่องเปิดอยู่ ก็จะเกิดการดูด ภายในอาคารจะเกิดเป็น negative internal pressure (-) ได้
แรงลมสามารถพัดมาได้จากทุกทิศทุกทาง การพัดของลมในทิศ เหนือไปใต้ ตะวันออกไปตะวันตก ย่อมส่งผลต่อตัวอาคารไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ หากอาคารไม่สมมาตร ทั้งไม่สมมาตรด้วยรูปทรง (dimension) ของตัวอาคาร หรือไม่สมมาตรด้าน stiffness การจัดวางระบบรับแรงด้านข้าง ก็จะส่งผลให้ทิศทางการพัดของลม ซ้ายมาขวาไม่เท่ากับขวามาซ้าย ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาแรงลมที่กระทำในทุกทิศทาง N -> S, S->N, E ->W, W -> E ตลอดจนมุมเฉียง NE -> SW, SW -> NE, NW -> SE, SE -> NW ซึ่งแน่นอนว่าการคำนวณด้วยมือนั้นเสียเวลามาก
ณ จุดนี้ พลังจาก computer simulation จะเข้ามามีบทบาทเป็นเครื่องมือช่วยให้เราคำนวณโครงสร้างได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น ทั้งนี้ “ทุกกรณีของทิศทางการพัดของลม ถือเป็น load combination เพียง 1 load case” เวลาคิด controlled load case ก็จะพบว่า จะคิดมาจาก load case หลายสิบกรณี ซึ่งการคำนวณในลักษณะเช่นนี้ คอมพิวเตอร์จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญมาก ๆ
# การพิจารณา แรงลม สำหรับอาคารโรงงาน
รายละเอียดอื่น ๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จาก รูปประกอบที่ 1 – 7 ได้เลยครับ
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณแรงลม
สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook