Earthquake Load (แรงแผ่นดินไหว)

แผ่นดินไหว 100 ปี ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ตุรกี
Metee Suwannason
Tags :
แผ่นดินไหว 100 ปี ที่ก่อให้เกิดความสูญเสียมากที่สุดในประวัติศาสตร์ตุรกี
เช้าวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 เวลาประมาณ 4:17 น. ตามเวลาท้องถิ่น (8:17 น. ตามเวลาประเทศไทย) ได้มีรายงานเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ magnitude ราว 7.8 ศูนย์กลางใกล้เมือง Gaziantep โดยล่าสุดอ้างอิง The Guardian เช้าวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ตามเวลาประเทศไทย ได้มีการรายงาน จำนวนผู้เสียชีวิตแล้วราว 3,823 คน 2,379 คนจากประเทศตุรกี และ 1,444 คนจากประเทศซีเรีย
ในภาพรวมแล้ว ตุรกีตั้งอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างทวีปเอเชีย และยุโรป ทิศใต้ติดทะเลเมดิเตอเรเนียน ทิศเหนือติดทะเลดำ ตั้งอยู่บน Anatolian Plate ที่ต่อกับ Arabian Plate โดยมีรอยเลื่อน ทั้ง North Anatolian Fault และ East Anatolian Fault อยู่ทางทิศเหนือและทิศตะวันออกตามลำดับ ส่งผลให้ตุรกีต้องเผชิญกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างต่อเนื่อง
สำหรับแผ่นดินไหวกับงานวิศวกรรมโครงสร้างนั้น ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่วิศวกรผู้ออกแบบโครงสร้าง structural engineer ควรต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยมีความสลับซับซ้อนในเชิงพฤติกรรม หลักๆ แล้วนั้น
– ความรุนแรงของการสั่น amplitude ของ seismic wave หรือที่เรียกว่า magnitude (ทางวิศวกรรมเรียก PGA = Peak Ground Acceleration หน่วยเป็นความเร่ง m/s^2) ย่อมมีผลโดยตรงต่อโครงสร้างอาคาร ยิ่งรุนแรงยิ่ง seismic force กับโครงสร้างอาคารยิ่งมาก
– ความถี่ของการสั่น frequency คือการสั่นของพื้นดินจากจุดนิ่งๆ ไปซ้าย มาขวา แล้วกลับมาจุดเดิม เรียก 1 รอบ ใช้เวลา xx วินาที หรือพิจารณาส่วนกลับ หน่วย รอบต่อวินาที หรือ Hertz ก็มีผลต่อโครงสร้างอาคาร โดยหาก ground frequency นี้ ไปเท่าๆ กับ building natural frequency ก็จะเกิดความรุนแรงมากยิ่งขึ้น อันนี้สามารถวิเคราะห์ได้จากการคำนวณหรือการใช้ computer modeling เพื่อหาทั้งมวลอาคาร mass (m) และ stiffness (k) ยิ่ง k มากยิ่ง m น้อย ยิ่งความถี่มาก
ลองดู clip นี้ครับ: https://www.youtube.com/watch?v=LV_UuzEznHs
– สภาพชั้นดิน ดินอ่อน ดินแข็ง ย่อมมีผลต่อความรุนแรงของแผ่นดินไหว ยิ่งดินอ่อนมา ยิ่งกักเก็บพลังงานได้มาก แรงแผ่นดินไหวยิ่งรุนแรง
การพิจารณาออกแบบโครงสร้าง แน่นอนว่าต้องพิจารณา “แรง (Load)” จากหลักการข้างต้น ซึ่งคำนวณได้ตามวิธีการที่มาตรฐานการออกแบบได้กำหนดไว้ ในบ้านเราก็พิจารณา มยผ. 1301/1302 เป็นหลัก มาเทียบกับ “กำลัง (Resistance)” โดยการพิจารณา “แรง” ได้มีการนำ “ระดับความเหนียว” มาลดทอนแรงที่กระทำ โดย “ระดับความเหนียว” ก็ขึ้นกับ รูปแบบของระบบรับแรงแผ่นดินไหว ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่ต้อง follow เชื่อมอย่างไร บากปีกไหม สกัดแผ่นรองเชื่อมไหม ฯลฯ
ย้ำนะครับว่า สิ่งที่นำเสนอไปนี้เป็นเพียงพื้นฐานภาพรวมๆ เท่านั้น วิศวกรผู้ออกแบบต้องลงรายละเอียด เพราะ มยผ. 1301/1302 ถือเป็นเกณฑ์ทางวิชาการ “ที่ถูกกำหนดเป็นกฎหมายข้อบังคับ” ด้วยกฎกระทรวงมหาดไทย ได้อ้างอิง มยผ. ดังกล่าวไว้ด้วย
สงสัยก็สอบถามมาได้นะครับ
ท้ายที่สุดนี้ ขอแสดงความเสียใจกับญาติผู้เสียชีวิตชาวตุรกีและชาวซีเรียทุกๆ ท่านด้วยครับ
#แผ่นดินไหว 100 ปี
สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel และ Line Officail Account ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook