Corrosion and Method of Protection (การกัดกร่อนและวิธีการป้องกัน)
การประยุกต์ใช้ แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทย สำหรับการออกแบบและการบำรุงรักษาโครงสร้างเหล็กเคลือบผิว ประกอบมาตรฐาน ISO 12944 และ มยผ. 1331-61

การประยุกต์ใช้ แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทย สำหรับการออกแบบและการบำรุงรักษาโครงสร้างเหล็กเคลือบผิว ประกอบมาตรฐาน ISO 12944 และ มยผ. 1331-61

การประยุกต์ใช้ แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทย สำหรับการออกแบบและการบำรุงรักษาโครงสร้างเหล็กเคลือบผิว ประกอบมาตรฐาน ISO 12944 และ มยผ. 1331-61 (Thailand corrosion map application as a reference to ISO 12944 and DPT standard 1333-61 for coated steelstructure design and maintenance)

โดย ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) บรรยายในงาน..

SSI Steel Construction Forum 2022

วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 15:00 – 16:00 น.

………………………………………………

การออกแบบอาคารต้านทานแรงลมและแรงแผ่นดินไหว เริ่มต้นจากการคำนวณหาขนาดของแรง หรือ “load” ที่กระทำกับโครงสร้างอาคาร ทั้ง wind load และ earthquake load ซึ่งคำนวณได้จากการ identify ก่อนว่าตำแหน่งที่ตั้งของอาคาร อยู่ในเขตความรุนแรงต่อลมพายุและแผ่นตินไหวมากน้อยเพียงใด โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติที่จัดทำออกมาในรูปแบบแผนที่ เรียกว่า wind map สำหรับการออกแบบแรงลม และ seismic map สำหรับการออกแบบแรงแผ่นดินไหว

เช่นเดียวกับการออกแบบต้านทานการกัดกร่อนให้กับโครงสร้างเหล็ก ผู้ออกแบบจำเป็นต้องทราบขนาดของ “load” ที่ส่งผลต่อการกัดกร่อนของโครงสร้างอาคาร ซึ่งแน่นอนว่า แปรเปลี่ยนไปตามพิกัดทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ บริเวณใกล้ทะเลยย่อมรุนแรงกว่าบริเวณไกลห่างจากทะเล บริเวณใกล้โรงงานอุตสาหกรรมย่อมกัดกร่อนรุนแรงกว่าบริเวณกลางทุ่งนาหรือป่าเขา ดังนั้น MTEC จึงได้ริเริ่มจัดทำ corrosion map เพื่อประกอบการใช้งานออกแบบระบบป้องกันผิวโครงสร้างเหล็กจากการกัดกร่อน ผ่านการเก็บข้อมูลทั่วประเทศไทย และจัดทำออกมาในรูป GIS ซึ่งสามารถตรวจสอบอัตราการกัดกร่อนของพื้นที่แต่ละแห่งได้โดยง่าย เพียงระบุพิกัดลงบนแผนที่ GIS

การแบ่งอัตราการกัดกร่อน (corrosivity) อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 9223 จำแนกออกมาเป็น 6 ระดับ ตั้งแต่ C1 ซึ่งมีอัตราการกัดกร่อนต่ำที่สุด ไปจนกระทั่ง CX ซึ่งมีอัตราการกัดกร่อนสูงที่สุด โดย MTEC ได้จัดทำแยกประเภทเหล็กออกเป็น เหล็กกล้าคาร์บอน (carbon steel) เหล็กกล้าต้านทานการกัดกร่อน (weathering steel) เหล็กกล้าคาร์บอนที่ผ่านการชุบสังกะสีแบบจุ่มร้อน (Hot-dip galvanized steel) และเหล็กกล้าเคลือบโลหะผสมอลูมิเนียมและสังกะสี (Galvalume) โดยหากผู้ออกแบบทราบพิกัดที่ตั้งของอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง และได้หารือกับเจ้าของอาคารถึงระดับความทนทานต่อการกัดกร่อน (durability) ว่าต้องการให้ทนทานมาก (เช่น กลุ่มโครงสร้างพื้นฐาน) ปานกลาง หรือไม่ต้องมากนัก (เช่น กลุ่มโครงสร้างชั่วคราว) ผู้ออกแบบก็สามารถออกแบบระบบเคลือบป้องกัน (corrosion protection system) ที่เหมาะสมได้

แผนที่การกัดกร่อนของประเทศไทย

………………………………………………

หากท่านสนใจ สามารถสมัครได้ทาง link ด้านล่างนี้

ssi-steel.comconstruction-forum.ssi-steel.com

ค่าสมัครเพียง 500 บาท 17 หัวข้อสัมมนาตลอด 4 วัน (รวมระยะเวลากว่า 20 ชั่วโมง)

………………………………………………

ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับ

เอกสารประกอบคำบรรยายครบทุกหัวข้อ

ผู้เข้าสัมมนาที่ลงทะเบียน 200 ท่านแรกจะได้รับ (#ฟรี)

มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (ราคาเล่มละ 450 บาท)

รีบสมัครกันนะครับ

1
2

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love