Construction Management (บริหารงานก่อสร้าง)
 แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปี 2565-2566

 แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้าง ปี 2565-2566

แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย 2565-2566 : โดยคุณกัญญารัตน์ กาญจนวิสุทธิ์ จาก Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB)

หัวข้อนี้ เป็นหัวข้อพิเศษ ที่จัดขึ้นเพื่อนำเสนอข้อมูลภาพกว้างทางด้านการบริโภค (consumption) ในด้านตลาดงานก่อสร้างของประเทศไทย เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนเชิงธุรกิจต่อไปในอนาคต

การแบ่งหมวดหมู่สำหรับการเก็บรวบรวมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลนั้น EIC ได้จำแนกประเภทงานก่อสร้างออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ (1) งานก่อสร้างภาครัฐ public sector และ (2) งานก่อสร้างภาคเอกชน private sector

งบประมาณสำหรับงานก่อสร้างภารรัฐนั้น จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ โครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ หรือ mega project และโครงการก่อสร้างและบำรุงรักษาประจำปี ของหน่วยงานหลักด้านงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประกอบไปด้วย กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท ซึ่งสังกัดกระทรวงคมนาคม รวมไปจนถึง กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย และกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จากข้อมูลที่ศึกษารวบรวม คาดการณ์ว่าในปี 2022 งานก่อสร้างภาครัฐมีการขยายตัว ราว 4% (YoY) ลดลงจากปีก่อน ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2020 ที่ราว 6% โดยอานิสงส์จากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ตามแผนงานก่อสร้าง และ พรก. เงินกู้ ที่ได้รับการจัดสรรสำหรับงานก่อสร้างภาครัฐ โดยแนวโน้มปี 2023 คาดว่างานก่อสร้างภาครัฐจะกลับมาขยายตัวที่ราว 6% จากปี 2022

สำหรับ mega project ที่ได้เปิดประมูลในปีนี้ (2022) โครงการใหญ่ที่สุดเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าเงินลงทุนราว 2.24 แสนล้านบาท ค่างานก่อสร้าง และรถไฟความเร็วสูง 1.70 แสนล้านบาท และค่าพัฒนาพื้นที่ 5.4 หมื่นล้านบาท ลักษณะเป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (PPP) โดยผู้ชนะการประมูลเป็น กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือ CPH

สำหรับปีหน้า (2023) โครงการ mega project ที่จะเปิดประมูลคือ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสีส้มตะวันตก (บางขุนนนท์ – มีนบุรี) งบประมาณราว 1.22 แสนล้านบาท รวมไปจนถึงรถไฟฟ้าสีแดงเข้ม-อ่อน งบประมาณราว 6.8 หมื่นล้านบาท โครงการมอเตอร์เวย์ นครปฐม – ชะอำ ช่วง นครปฐม – ปากท่อ งบประมาณค่าก่อสร้าง 5.2 หมื่นล้านบาท โครงการก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ช่วงที่ 2 งบประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท และโครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้านทิศเหนือ งบประมาณค่าก่อสร้างราว 4.2 หมื่นล้านบาท

สำหรับงานก่อสร้างภาคเอกชน พบว่าปี 2022 มีการฟื้นตัว เติบโตขึ้นจากปีก่อนราว 3% โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยที่เติบโตขึ้นจากปีก่อนอย่างมีนัยสำคัญ ราว 11% (YoY) ทั้งโครงการก่อสร้างอาคารพักอาศัยแนวราบและคอนโดมิเนียม โดยในส่วนของอาคารเชิงพาณิชย์ก็พบการเติบโต สูงมากถึง 19% (YoY) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติบโตจากงานก่อสร้างตามแนวรถไฟฟ้า และ mega project

แม้ว่าแนวโน้มงานก่อสร้างจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ประกอบการยังต้องพบกับความท้าทาย ที่กำลังซื้อ (demand) ยังมีอยู่อย่างจำกัด ตลอดจนภาวะ oversupply ที่อาจทำให้เกิดการเลื่อนหรือยกเลิกโครงการที่ศักยภาพน้อยกว่าโครงการที่มีศักยภาพสูงกว่า

สำหรับรายละเอียดเชิงลึก ว่าโครงการลักษณะใดจะเป็นโครงการที่มีแนวโน้มที่ดี โปรดติดตามได้ในงานสัมมนา SSI Steel Construction Forum 2022

# แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย 2565-2566

# แนวโน้มอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย 2565-2566

1
2
3

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love