Code and Standard for Construction (มาตรฐานสำหรับงานก่อสร้าง)
 มาตรฐานเหล็กแผ่น ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง

 มาตรฐานเหล็กแผ่น ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง

มาตรฐานเหล็กแผ่น : โดย ดร.ทินกร ผดุงวงศ์ Head of Steel Solution Center และ School of Engineering บมจ. สหวิริยาสตีลอินดัสตรี (SSI) บรรยายเป็นหัวข้อพิเศษในงาน
SSI Steel Construction Forum 2022
วันที่ 26 ตุลาคม 2565 เวลา 13:00 – 14:00 น.
………………………………………………
ในหัวข้อนี้ ดร.ทินกร จะกล่าวถึงความเป็นมาของมาตรฐานเหล็กแผ่นในประเทศไทย เทียบเคียงกับมาตรฐานสากล การเลือกใช้งานผลิตภัณฑ์เหล็กที่เหมาะสมในอุตสาหกรรมก่อสร้าง รวมถึงแนวทางการเลือก กระบวนการเชื่อมที่เหมาะสม การป้องกันการกัดกร่อน และอื่นทางด้านโลหวิทยา

โดยพื้นฐานเชิงประวัติศาสตร์ เหล็กกล้าได้ถูกนำเขามาใช้ในงานก่อสร้างของประเทศ เพื่อเป็นโครงสร้างเหล็กสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “สะพาน” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่า เป็นผลิตภัณฑ์จากประเทศญี่ปุ่น จากนั้นความร่วมมือทางการค้า การนำเข้าเหล็กรูปพรรณประเภทต่างๆ รวมไปจนถึงเหล็กแผ่น ก็ได้มีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เป็นที่น่าแปลกใจว่า มาตรฐานผลิตภัณฑ์เหล็กของประเทศไทย โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. หรือ TIS: จะมีการอ้างอิงกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (JIS: Japan Industrial Standard) เป็นหลัก สังเกตเห็นได้จาก การกำหนดชั้นคุณภาพ หรือ เกรด ของเหล็กจะมีความคล้ายคลึงกันมาก

สำหรับ รูปแบบในการกำหนดชั้นคุณภาพผลิตภัณฑ์เหล็กนั้น จะระบุด้วยตัวอักษร และ เลข โดยตัวอักษรสะท้อน application หรือ ความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน เช่น SS = Steel Structure เหมาะกับงานก่อสร้าง (ซึ่งในญี่ปุ่นมักต่อเหล็กโครงสร้างด้วย สลักเกลียว ดังนั้น SS จึงเป็นกลุ่มที่มีนัยยะ ว่าใช้กับงานที่ต่อด้วย bolt connection เป็นหลัก ซึ่งก็คืองานก่อสร้าง) SM = Steel Marine เหมาะกับงานต่อเรือ ที่ต้อง secure weldability เพราะการต่อเรือจำเป็นต้องต่อเหล็กด้วยการเชื่อมเป็นหลัก

และท้ายสุด SN = Steel New เป็นเกรดใหม่ที่ญี่ปุ่นได้พัฒนาเพื่อรองรับงานก่อสร้างอาคารที่ต้องการสมบัติต้านทานแผ่นดินไหวจากเหล็ก ทั้ง yield ratio (อัตราส่วนระหว่าง yield strength ต่อ tensile strength) และ สมบัติในการรับแรงของวัสดุในทิศทางที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทิศทางตามความหนา (through thickness property) เป็นต้น และอาจมีเพิ่มตัวอักษร เช่น A สะท้อน Atmospheric property หรือสมบัติในการต้านทานการกัดกร่อน เป็นต้น

สำหรับเลขที่กำกับในมาตรฐานนั้น สะท้อนกำลังรับแรงดึง หรือ tensile strength ของเหล็ก ในหน่วย Mega Pascal (MPa) หรือ Newton per square millimeter โดยหากต้องการปรับเป็นหน่วย ksc ตามความคุ้นเคยของวิศวกรโยธา ก็ประมาณการคูณ 10 เข้าไป ทั้งนี้ หากต้องการทราบค่ากำลังรับน้ำหนักที่จุดคราก หรือ ความเค้นคราก yield strength ก็จำเป็นต้องเปิดค่าที่กำหนดในมาตรฐาน มอก. หรือ JIS

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับสมบัติของเหล็ก กับการใช้งานก่อสร้างในมิติอื่นๆ ทั้ง toughness property หรือ ductility ของเหล็กเกรดต่างๆ สามารถติดตามได้ในงานสัมมนา โดย ดร.ทินกร ผดุงวงศ์

# มาตรฐานเหล็กแผ่น 

# มาตรฐานเหล็กแผ่น

………………………………………………
หากท่านสนใจ สามารถสมัครได้ทาง link ด้านล่างนี้
https://construction-forum.ssi-steel.com/
ค่าสมัครเพียง 500 บาท 17 หัวข้อสัมมนาตลอด 4 วัน (รวมระยะเวลากว่า 20 ชั่วโมง)
………………………………………………
ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับ
เอกสารประกอบคำบรรยายครบทุกหัวข้อ
.
ผู้เข้าสัมมนาที่ลงทะเบียน 200 ท่านแรกจะได้รับ (#ฟรี )
มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (ราคาเล่มละ 450 บาท)
.
รีบสมัครกันนะครับ
มาตรฐานการออกแบบฯ วสท. ใกล้จะหมดแล้ว
……………………………………………………………………….
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:
โทรศัพท์ 065-9791316, 065-5132430
Email : SSIForum2022@gmail.com
Line Official : We Love Steel Construction (https://lin.ee/PBxAt4U)
Line ID : @060tlizi
Inbox Facebook: We Love Steel Construct

1
2
3
4

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love