Prestressed Concrete (คอนกรีตอัดแรง)
การออกแบบพื้นโพส เทนชั่น (Post-tension Flat Slab) แบบมีการยึดเหนี่ยวรับแรงทางด้านข้าง
Metee Suwannason
Tags :
พื้นโพสเทนชั่น แบบมีการยึดเหนี่ยวรับแรงด้านข้าง : หลักในการออกแบบระบบพื้นคอนกรีตอัดแรงนั้น เป็นการสร้างแรงภายในให้เกิดขึ้นกับโครงสร้างในทิศทางตรงข้ามกับแรงภายในที่เกิดจากแรงภายนอกที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกคงที่ (dead load) จากตัวโครงสร้างเอง เพื่อให้โครงสร้างสามารถรับแรงภายนอกจากน้ำหนักบรรทุกจร (live load) ได้โดยไม่ต้องเพิ่มขนาด กำลังคอนกรีต หรือปริมาณเหล็กเสริมให้มากขึ้นจากเดิม ซึ่งโดยทั่วไป การจัด profile ของลวดอัดแรงก็จะสะท้อนกับลักษณะของ bending moment diagram ของ flexural member ไม่ว่าจะเป็นคานหรือแผ่นพื้นก็ตาม หลังจากนั้นจึงทำการเทคอนกรีตและบ่มคอนกรีตจนได้กำลังตามที่กำหนด จากนั้นจึงทำการดึงลวดอัดแรง เพื่อ counter balance แรงภายในจาก structural dead load ดังที่ได้กล่าวไว้ในเบื้องต้น
วิศวกรผู้ออกแบบจำเป็นต้องมีการเสริมเหล็กเส้นในระบบพื้น post-tensioned slab โดยปริมาณเหล็กเสริมจะต้องเพียงพอต่อการหดตัวและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ (shrinkage and temperature control) โดยเกินกว่า minimum reinforcement ที่มาตรฐานได้มีการกำหนดเอาไว้
การคำนวณออกแบบระบบพื้น post-tensioned slab จะต้องพิจารณาระดับความเค้น (stress check) ตาม stage ต่างๆ ของการก่อสร้าง เช่น ระดับความเค้นเมื่อดึงลวดอัดแรง (stress check at transfer stage) ซึ่งพิจารณากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตขณะที่ทำการดึงลวดอัดแรง และระดับความเค้นที่ stage การใช้งาน (stress check at service) ซึ่งพิจารณากำลังรับแรงอัดของคอนกรีตที่ 28 วัน
สำหรับการพิจารณาระดับความเค้น หรือระดับของแรงภายใน เช่น โมเมนต์ดัดของน้ำหนักบรรทุกรวม (load combination) นั้น การพิจารณา ต้องดำเนินการกับระบบโครงสร้างรับแรงตามทิศทางในแนวแรงโน้มถ่วง gravity system ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องพิจารณา dead load และ live load เป็นหลัก ตลอดจนแรงที่ counter balance จากผลของการดึงลวดอัดแรงด้วย นอกจากนี้สำหรับ lateral system หรือ ระบบรับแรงด้านข้างนั้น ผู้ออกแบบก็จำเป็นต้องพิจารณา load combination ในชุดที่แสดงแรงทางด้านข้าง ทั้งแรงลม และแรงแผ่นดินไหวด้วย
แม้ว่าระบบ post-tensioned floor slab จะไม่เหมาะนักกับการใช้เป็นระบบ gravity system และ lateral system ไปพร้อมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่แรงแผ่นดินไหวสูง แต่กระนั้นก็ตาม ก็สามารถพิจารณาออกแบบได้โดยพิจารณาระดับโมเมนต์ในแนวเสาหนึ่งๆ (strip moment) โดยเป็นโมเมนต์ที่เกิดจากน้ำหนักบรรทุกรวมของ gravity load อันได้แก่ dead load และ live load รวมไปจนถึงโมเมนต์จากแรงด้านข้าง โดยเรียกวิธีการพิจารณานี้ว่า Equivalent Frame Method หรือ EFM
โดยเมื่อเกิดแรงจากน้ำหนักบรรทุกหลายหลายประเภท กับ EFM ที่เป็นเสมือน rigid frame ก็ย่อมส่งผลให้เกิด moment ที่ไม่สมดุลกันระหว่างแผ่นพื้นทางด้านซ้ายของเสาและแผ่นพื้นทางด้านขวาของเสา ที่เรียกว่า unbalanced moment ซึ่งค่า unbalanced moment นี้ก็จะถ่ายลงเสา หรืออีกนัยหนึ่ง เสาที่รับแรงอัดแต่เพียงอย่างเดียวสำหรับ gravity column ก็จะต้องรับ moment ซึ่งผุ้ออกแบบจำเป็นต้องพิจารณา combined axial bending ของเสาอาคารด้วย
หัวข้อนี้ถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่เป็นที่สนใจของวิศวกรผู้ออกแบบหลายท่าน โดยคุณภาคภูมิ จะมาบรรยายให้ความรู้แก่วิศวกรที่สนใจทุกๆ ท่าน ถึงวิธีการพิจารณาในรายละเอียด ในวันสุดท้ายของงาน SSI Steel Construction Forum 2022 วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565 นี้
# พื้นโพสเทนชั่น แบบมีการยึดเหนี่ยวรับแรงด้านข้าง
# พื้นโพสเทนชั่น แบบมีการยึดเหนี่ยวรับแรงด้านข้าง
………………………………………………
หากท่านสนใจ สามารถสมัครได้ทาง link ด้านล่างนี้
https://construction-forum.ssi-steel.com/
ค่าสมัครเพียง 500 บาท 17 หัวข้อสัมมนาตลอด 4 วัน (รวมระยะเวลากว่า 20 ชั่วโมง)
………………………………………………
ผู้เข้าสัมมนาจะได้รับ
เอกสารประกอบคำบรรยายครบทุกหัวข้อ
ผู้เข้าสัมมนาที่ลงทะเบียน 200 ท่านแรกจะได้รับ (#ฟรี)
มาตรฐานการออกแบบสำหรับอาคารโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ (ราคาเล่มละ 450 บาท)
สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook