Architectural Topics (หัวข้องานสถาปัตยกรรม)
สร้างบ้านแบบไหนแล้วประหยัดค่าไฟ

สร้างบ้านแบบไหนแล้วประหยัดค่าไฟ

บ้านประหยัดพลังงาน Energy Efficient House

เห็นจากภาพข่าวว่า ทุกวันนี้ประชาชนไทยมีปัญหามากเรื่องค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้น บางท่านอาจไม่ทราบว่า ส่วนหนึ่งของปัญหามาจาก “เปลือกอาคาร” หรือ facade ที่เราเลือกใช้ ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะใช้ผนังอาคารที่เป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนเป็นส่วนใหญ่

ผนังก่ออิฐฉาบปูน ให้ประโยชน์ทางความรู้สึก หรือ emotional benefit ที่ดี ผู้พักอาศัย “รู้สึก” ปลอดภัย มั่นใจ สบายใจ แต่ผนังก่ออิฐฉาบปูน โดยเฉพาะอิญมอญ หรือ อิฐแดงที่เรารู้จักกันทั่วไปนี้ ก็มีข้อเสียที่ทำให้เราต้องสิ้นเปลืองค่าไฟอยู่ไม่ใช่น้อย

ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของบ้านเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงหน้าร้อน จะแตกต่างจากพื้นที่ในดินแดนทะเลทราย คือ หน้าร้อนของบ้านเราร้อนจัดในช่วงเวลากลางวัน (ราว 40 องศา) อุ่นขึ้นมาหน่อยช่วงเวลากลางคืน (ราว 30 องศา) ในขณะที่ในดินแดนทะเลทราย ช่วงกลางวันอุณหภูมิอาจสูงถึงราว ใกล้ๆ 50 องศาช่วงเวลากลางวัน และต่ำลงเหลือราว 10 กว่าองศา ช่วงเวลากลางคืน ทั้งนี้อุณหภูมิที่มนุษย์จะอยู่สบายจะอยู่ราว 25 องศา

ผนังก่ออิฐ มีคุณสมบัติที่ดีในการต้านทานความร้อน แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็จะเก็บกักความร้อนได้ดี ไม่คายความร้อนออกอย่างรวดเร็ว การใช้ผนังก่ออิฐ masonry / brick wall ในพื้นที่แถบทะเลทราย ก็ถือเป็นเรื่องเหมาะสม เพราะจะกันความร้อนจัดในช่วงเวลากลางวัน และคายความร้อนให้ความอบอุ่นกับผู้ใช้อาคารในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งอุณภูมิภายนอกลดต่ำลงมาก จึงเกิดความสมดุลของอุณหภูมิที่ผู้ใช้อาคารจะอยู่ได้อย่างสบาย

แต่สำหรับบ้านเรา ผนังก่ออิฐที่สะสมความร้อนในช่วงเวลากลางวัน ก็จะคายความร้อนออกมาในช่วงเวลาเย็นๆ ค่ำๆ ทำให้พวกเราชาวไทยเมื่อกลับถึงบ้าน ต้องเปิดแอร์เพื่อไล่ไอความร้อนนี้ออกไป ซึ่งแน่นอนว่าแอร์ก็จะทำงานหนักขึ้น ค่าไฟก็จะเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

สำหรับบ้านเรานี้ ลักษณะของผนังที่อาจจะนำมาช่วยประหยัดพลังงานได้ เช่น ผนังก่ออิฐ 2 ชั้น มีช่องอากาศ หรือ air gap แต่ก็จะทำให้ความหนาของผนังค่อนข้างมาก และน้ำหนักอิฐก็สูงมากส่งผลต่อขนาดคานตัวริม ที่ต้องมีขนาดใหญ่ตามไปด้วย ทั้งนี้ยังมีระบบผนังอีกประเภท ที่เรียกว่า metal stud wall ที่ผลิตจากเหล็กรีดเย็น (ให้บางลง) มาพับขึ้นรูปเย็น (เป็นรูปร่างรูปทรงรูปตัวซี เป็นต้น) มาวางในแนวตั้งให้ห่างกันประมาณ 30-40 cm แล้วปิดทั้ง 2 ด้านด้วย gypsum หรือ cement board โดยอาจมีวัสดุปิดผิวจำพวกกระเบื้องเซรามิค เพื่อความสวยงามอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการใช้เปลือกอาคารประเภทนี้ จะมีความเป็นฉนวนสูง “กันความร้อน” เข้า/ออก ได้ดี รักษาระดับอุณหภูมิภายในตัวบ้านไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าผนังก่ออิฐฉาบปูน

นอกจากนี้ ระบบ metal stud wall ในปัจจุบัน ยังสามารถประยุกต์ใช้เป็น load bearing structure คือนอกจากจะทำหน้าที่เป็นผนังแล้ว ยังช่วยรับแรงเป็นส่วนของโครงสร้างไปในตัว แต่อย่างไรก็ดี ข้อเสียของการใช้ load bearing metal stud wall ก็ยังมีอยู่ คือ มี flexibility ต่ำการปรับเปลี่ยนตำแหน่งประตู หน้าต่าง ทำได้ยากมาก เพราะผนัง เป็นส่วนของ structural system และมีผู้ประกอบการในประเทศน้อยราย ทำให้ราคาค่อนข้างสูง ที่สำคัญคือ “emotional benefit” ที่ไม่ดีเท่าผนังก่ออิฐ ผู้ใช้อาคารเมื่อเคาะผนังแล้วรู้สึกกลวง การป้องกันและดูดซับเสียงยังไม่ดีเท่ากับผนังก่ออิฐฉาบปูน

เผื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่จะก่อสร้างบ้านประหยัดพลังงานในอนาคตครับ

#บ้านประหยัดพลังงาน

#บ้านประหยัดพลังงาน

#WeLoveSteelConstruction

1
2
3
4
5
6
7
8

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel และ Line Officail Account ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love