Column (เสา)

Tags :
การออกแบบค้ำยันทางข้างให้กับเสาเหล็ก : เมื่อวิศวกรโครงสร้างออกแบบเสา วิศวกรจะเริ่มจากการกำหนดตัวแปรที่สำคัญในการคำนวณกำลังรับแรงของเสา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความยาวของเสา” ซึ่งเป็น #ความยาวที่ปราศจากการค้ำยัน column unbraced length ซึ่งสะท้อนความยาวที่ #ค้ำยันทางข้างของเสาทำงานสมบูรณ์ 100% bracing capability
ที่ได้เรียนไปใน post ก่อนหน้าคือ 100% capability นี้ไม่ได้เฉพาะ #strength #กำลัง เท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสามารถในการต้านทานการเสียรูป #stiffness เพราะหาก column bracing มี stiffness ที่น้อย การที่ผู้ออกแบบกำหนดในเบื้องต้นว่า unbraced length เป็นไปตามที่สมมติไว้ ก็อาจไม่ถูกต้องเพราะเสาอาจเกิดการ buckle อันเนื่องมาจากตัว bracing เองเกิดการเสียรูปมากเกินไป ดังนั้น การตรวจสอบความปลอดภัยของ column bracing จึงต้องตรวจสอบทั้ง strength และ stiffness
สมการและแนวทางในการคำนวณได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้แล้วนะครับ โพสต์นี้จะนำเสนอเฉพาะตัวอย่าง โดยมี 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างแรก ง่ายหน่อย เป็นหน่วยที่เราคุ้นเคย ออกแบบตามแนวทาง Allowable Strength Design หรือ #ASD ใช้เหล็กตามมาตรฐานไทย #มอก และรูปแบบไม่ซับซ้อน อีกตัวอย่างอ้างอิงมาจาก AISC Design Example ระบบค้ำยันมีความซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย หน่วยเป็น imperial และ เหล็กอ้างอิง ASTM มีทั้ง ASD และ LRFD
ทั้งนี้ การคำนวณกำลังเสา ได้ใช้ข้อมูลจาก SSI Steel Design Mobile Application ซึ่งคำนวณกำลังรับน้ำหนักของ axial compression member ได้อย่างรวดเร็ว download ได้ฟรี ทั้งระบบ iOS และ Android นะครับ แต่หากอยากได้ PDF calculation ส่งถึงท่านทางอีเมล สามารถระบุข้อมูลโครงการ ผู้ออกแบบ ฯลฯ ได้ ก็สามารถ upgrade ได้โดยราคาถูกกว่ากาแฟร้อนหนึ่งแก้วของบางร้านนะครับ
# การออกแบบค้ำยันทางข้างให้กับเสาเหล็ก การออกแบบค้ำยันทางข้างให้กับเสาเหล็ก
สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook