Bolted Connection (ข้อต่อแบบใช้สลักเกลียว)
จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก End – Plate Moment Connection AISC Design Guide No. 16
Pawit Sorthananusak
Tags :
สำหรับท่านที่ทำงานออกแบบอาคารเตี้ย low-rise building ที่มีลักษณะการใช้งานเป็นโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้า หรือที่เราคุ้นเคยกับชื่อ PEB แล้ว ก็คงจะคุ้นเคยกับ จุดเชื่อมต่อโครงสร้างเหล็ก (connection) ประเภทนี้ครับ
และหากจำกันได้ โพสต์เมื่อนานมาแล้ว เคยนำเสนอเรื่องนี้ไปแล้วในบางส่วน แต่จะเป็นเนื้อหาที่อ้างอิงจาก Design Guide No. 4 ครับ โดยความแตกต่างระหว่าง Design Guide No.16 และ No.4 จะอยู่ที่
หากใครเดินทางด้วย BTS อยู่บ่อยๆ ก็คงจะคุ้นเคยกับ connection รูปแบบนี้เป็นอย่างดี หรือน่าจะต้องเคยเห็นผ่านตากันมาบ้าง (หากไม่ได้สังเกต ลองมองดูที่หลังคาชานชะลาดูครับ ก็จะเห็นรูปแบบของ connection ที่ระบุไว้อยู่ใน Design Guide no.16 บางรูปแบบ)
ทีนี้ก็กลับมาเข้าเนื้อหากันครับ โดยในเนื้อหาที่ทำมานำเสนอ ก็จะถือว่าเป็นการทบทวนในบางส่วน และมีเรื่องที่ยังไม่เคยนำเสนอไปด้วยครับ เริ่มจากรูปแบบของ connection ประเภทนี้กันก่อน หลักๆ ก็จะมีอยู่ 2 รูปแบบ (รูปที่ 2) คือ
รูปแบบตำแหน่งของ bolt จะเห็นว่ามีทั้งด้านบนเยอะและด้านล่างเยอะ เป็นเหตุมาจากว่า เวลาออกแบบ หน้าที่หลักของ bolt คือการรับแรงดึง โดยที่กำลังรับแรงดึงนี้เราจะพิจารณาที่ tensile strength ของ bolt เลย
นั่นหมายความว่าการวิบัติจะเกิดขึ้นในรูปแบบ rupture ซึ่งใช้กำลังของ bolt อย่างเต็มที่ และในด้านที่เป็นแรงอัด ก็ไม่ต้องพิจารณาอะไร นั่นก็เพราะ bolt ไม่มีพฤติกรรมในการรับแรงอัด จึงจะเห็นได้ว่า ด้านที่จะต้องรับแรงอัด ก็จะมี bolt ยึดอยู่เพียง 2 ตัว เพื่อยึดให้ connection มีเสถียรภาพเท่านั้น
ส่วนเรื่อง design procedures ของ connection รูปแบบนี้ ได้มีการพัฒนามาจาก 2 ทฤษฎี คือ
ดังนั้นจะเห็นว่า ความหนาของ end-plate นั้นจะไปมีความสัมพันธ์กับ bolt แบบแปรผกผันกัน (รูปที่ 9) หากออกแบบให้ end-plate มีความหนามากๆ ก็จะทำให้ไม่ต้องใช้ bolt ที่มีขนาดใหญ่นัก แต่กลับกัน หากออกแบบ end-plate ที่มีความหนาน้อยๆ ก็จะต้องเลือกใช้ bolt ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อที่จะรับที่มีผลของ prying force เข้าไปด้วยนั่นเองครับ
ในคู่มือเล่มนี้ จะแบ่งการออกแบบเป็น 2 วิธี นะครับ คือ
แตกต่างจาก Design Guide No.4 ที่จะเป็นการออกแบบที่ไม่ยอมให้เกิด prying action เลย ซึ่งจะแสดง flow chart ในการคำนวณไว้ใน 3 รูปหลังสุดนะครับ คือ รูปที่ 10 – 13 ส่วนตัวอย่างและการอธิบายที่มาของสมการ จะขอยกไปในโพสต์ถัดๆ ไปนะครับ เนื่องจากมีเนื้อหาที่ค่อนข้างจะยาวพอสมควร