AISC Design Guide Series

การออกแบบ Base plate และ Anchor ยึดกับฐานราก ตอนที่ 4
Metee Suwannason
Tags :
Base Plate and Anchor Rod Design
การออกแบบ Base plate และ Anchor ตอนที่ 4 เป็นการนำเสนอตัวอย่าง อ้างอิง AISC Design Guide 1 (2nd Edition) โดยเป็นตัวอย่าง Axial load only ซึ่งมีจุดหนึ่งที่อยากนำเสนอนะครับ
เราเคยทราบถึงหลักในการพิจารณา unified method ในการเปลี่ยน factor of safety (ASD) กับ resistance factor (LRFD) โดยพิจารณาที่ gravity load combination โดยพิจารณา load factor = 1.5
FS = 1.5/(Resistance factor)
เช่น Resistance factor = 0.75 (ใช้กับ connection rupture failure), FS = 1.5/0.75 = 2 เอาไปหาร nominal strength ได้ กำลังรับน้ำหนักปลอดภัยที่ service load เป็นต้น
สำหรับ concrete footing ที่รองรับ base plate เนื่องจากบริเวณนี้ เป็น transition ระหว่างการออกแบบโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก กับ การออกแบโครงสร้างเหล็ก ดังนั้นมาตรฐานการออกแบบทั้ง ACI (คอนกรีตเสริมเหล็ก) และ AISC (เหล็ก) จึงได้ระบุส่วนที่ต้องิจารณาไว้ทั้งคู่
อ้างอิง ACI 318-02 กำหนด resistance factor สำหรับการพิจารณา concrete foundation bearing capacity ไว้ที่ 0.65 ซึ่งหากพิจารณาตามหลักการ unified method ของ AISC จะได้ว่า resistance factor จะเท่ากับ 2.31 1.5/0.65) แต่อย่างไรก็ดี AISC ได้ระบุไว้ใน AISC Specification แล้วว่า การพิจารณากำลังรับแรงอัดคอนกรีต ที่รองรับ base plate จะใช้ factor of safety = 2.5 ซึ่งจะทำให้ resistance factor = 0.6
ตรงนี้ Design Guide 1 ได้แสดง “ความเหลื่อม” ของมาตรฐาน 2 มาตรฐาน ซึ่งใน Design Guide ก็ได้ระบุว่า จงใช้ resistance factor = 0.65 แต่ factor of safety = 2.5 เพราะ ทั้ง ACI และ AISC ก็ได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายอาคารในต่างประเทศครับ
ทั้งนี้ สำหรับการตรวจสอบการคำนวณ ท่านสามารถ download SSI Steel Design Mobile Application ซึ่งเป็น Free application ได้ทาง
iOS: https://apps.apple.com/th/app/ssi-steel-design/id1474838160
Android: https://play.google.com/store/apps/details…
โดย ข้อมูลใน Design Guide 1 ข้างต้น จะนำไปปรับปรุงแก้ไขใน Mobile application เวอร์ชั่นถัดไปครับ
# การออกแบบ Base plate และ Anchor ตอนที่ 4
ตัวอย่างการคำนวณแสดง ดังรูป 1 และ 2 ด่านล่างเลยครับ
นอกจากนี้ยังมีวิดีโอสอน การออกแบบ Base plate ที่ทางทีมงาน ได้นำเสนอไว้แล้วใน Youtube ชาแนล WeLoveSteelconstruction สามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ลิ้งค์ด่านล่างได้เลยครับ
สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ
#WeLoveSteelConstruction_Facebook