Dynamics of Structures (พลศาสตร์โครงสร้าง)
การจำลองและแก้ปัญหาทาง พลศาสตร์โครงสร้างแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น  โดยใช้วิธีของ Biggs

การจำลองและแก้ปัญหาทาง พลศาสตร์โครงสร้างแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น  โดยใช้วิธีของ Biggs

การจำลองและแก้ปัญหาทาง พลศาสตร์โครงสร้างแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น  โดยใช้วิธีของ Biggs

โดย คุณกษิภณ กู้โรจนวงศ์ ผู้ก่อตั้งเพจ Offshore Structural Corner

………………….

หลายท่านอาจจะได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาข้อมูลมากมายใน Facebook: Offshore Structural Corner หรือใน blog จะเห็นว่ามีความรู้มากมายที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณออกแบบโครงสร้างเพื่อรับแรงแบบพลศาสตร์ page และ blog ดังกล่าวข้างต้น ก่อตั้งและอัพเดทข้อมูลโดย คุณกษิภณ หรือ คุณบุ๊ง

คุณบุ๊งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบัน เป็นวิศวกรวิชาชีพเชี่ยวชาญด้านงานโครงสร้างนอกชายฝั่ง หรือ offshore structure อยู่ในต่างประเทศ

หัวข้อการบรรยาย จะเกี่ยวข้องกับ ทฤษฎีการวิเคราะห์ dynamic load โดย Prof. J.M. Biggs จาก MIT ซึ่งทฤษฎีของ Biggs นั้น ปรากฏในเอกสารซึ่งตีพิมพ์ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยในช่วงการสงคราม เพื่อป้องกันการโจมตีจากขีปนาวุธจากการจู่โจมทางอากาศ จึงได้มีการรวบรวมนักวิทยาศาสตร์และวิศวกร ซึ่งน่าจะมี Prof. Biggs อยู่ด้วย โดยจัดทำออกมาเป็นชุดเอกสาร ที่มีชื่อว่า “Design of Structures to Resist to Effect of Atomic Weapons”

พื้นฐานการวิเคราะห์ปัญหาทางพลศาสตร์ เป็นสมการทั่วไปที่สะท้อนหลักสมดุล ของ 3 component คือ (1) แรงต้านทาน จากผลตอบสนองของสติฟเนสและระยะที่เคลื่อนที่ [K][Y] (2) แรงต้านทาน จากผลตอบสนองด้านความหน่วงและความเร็วของการเคลื่อนที่ [C][Y’] (3) แรงต้านทาน จากผลตอบสนองด้านมวลและความเร่ง [M][Y”] โดยผลรวมของ 3 component ก็จะเท่ากับแรงภายนอกที่กระทำ ณ เวลา t หรือ F(t)

สำหรับ component ที่เป็น static component คือ [K][Y] ในขณะที่ส่วนที่เป็น dynamic component คือ [M][Y”] + [C][Y’] โดยเพื่อให้สามารถพิจารณาได้สะดวกขึ้น ก็ปรับ dynamic component ที่ไปพิจารณาร่วมกับแรงภายนอกที่เวลา t นี้ ให้มีค่าเท่ากับ F1 ซึ่งเป็นค่าแรงสถิตที่สูงที่สุด คูณกับ ค่า dynamic load factor หรือ DLF ของผลตอบสนองสูงสุด ซึ่ง dynamic component นี้ขึ้นกับอัตราส่วน td/T ซึ่งเป็น ระยะเวลาที่แรงภายนอกมากระทำ (td) ต่อ คาบการสั่นธรรมชาติ หรือ natural period (T) ของโครงสร้าง

Td/T สะท้อนลักษณะของแรงภายนอกที่กระทำ โดยจำแนกว่า ถ้าเป็นแรงกระทำกับ object ในช่วงเวลาสั้นมาก ๆ (td น้อยกว่า 0.3 วินาที) จะเรียกว่า Impulse (ภาษาไทยใช้ว่า แรงดล) ตัวอย่างเช่น แรงจากระเบิด เป็นต้น และหากแรงภายนอกกระทำแบบแช่นานพอสมควร (td เกินกว่า 3 วินาที) จะเรียกว่า Quasi-static หรือเป็นแรงกึ่งสถิต ตัวอย่างเช่น แรงลมที่พัดต่อเนื่อง เป็นต้น โดยหากระยะเวลาที่แรงกระทำ อยู่ระหว่าง 0.3 – 3.0 วินาที จะเรียกว่าแรง dynamic ตัวอย่างเช่น แรงแผ่นดินไหว แรงลมกรรโชก เป็นต้น

# พลศาสตร์โครงสร้างแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น  

# พลศาสตร์โครงสร้างแบบเชิงเส้นและไม่เชิงเส้น  

โดยรายละเอียดเชิงลึก และตัวอย่างการพิจารณา สามารถติดตามได้ในงาน SSI Steel Construction Forum – Day 4 วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคมนี้ เวลาประมาณ 15:00 – 16:00 น.

………………………………………………

ท่านสามารถลงทะเบียนได้ทาง

https://construction-forum.ssi-steel.com

………………………………………………

โปรดติดตามรายละเอียดทางเทคนิคด้านโครงสร้างเหล็กได้ทาง

YouTube: www.youtube.com/c/welovesteelconstruction

Facebook: www.facebook.com/welovesteelconstruction

และเพิ่มเราเป็นเพื่อนกลุ่มไลน์ได้ที่ LINE ID: @060tlizi (https://lin.ee/PBxAt4U)

1
2
3
4

สำหรับช่องทางการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ และข้อมูลข่าวสาร ความรู้  ในรูปแบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหล็กเพื่องานก่อสร้าง ของทางบริษัทฯ ยังมี Facebook Page และ Youtube Channel ชื่อ “WeLoveSteelConstruction” นอกจากนี้ทาง บริษัทฯ ยังมีงานสัมนาประจำปีที่มีเนื้อหาการบรรยายดี ๆ เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างด้วยเหล็ก รายละเอียดสามารถคลิกตามลิ้งค์ข้างล่างได้เลยครับ

#WeLoveSteelConstruction_Facebook

#WeLoveSteelConstruction_Youtube

#SSISteelConstructionForum

#WeLoveSteelConstruction_Line





Spread the love